เหลืออีกไม่กี่วันก็สิ้นสุดปี 2559 ภาพการแข่งขันของธุรกิจต่าง ๆ ในช่วงปีที่ผ่านมา ต่างก็แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ธุรกิจไหนไปได้สวยบ้าง และธุรกิจใดที่ต้องจอดกลางทาง เพราะด้วยความแปรเปลี่ยนของระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นตามปัจจัยลบที่เข้ามากระทบ
ธุรกิจตลาดโทรคมนาคมแบบไร้สาย ก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่หลายคนคาดหวังว่าจะไปได้สวย หลังภาครัฐเปิดประมูลคลื่นความถี่ 4G อย่างเป็นทางการ แต่หลังจากการประมูลเสร็จสิ้น ดูเหมือนธุรกิจที่ประมูลได้ดูจะคึกคักไม่น้อยแล้วค่อยแผ่วเบาลงจนแทบจะลืมเลือนในช่วงปีนี้ อย่างไรก็ตาม ตลาดโทรคมนาคมแบบไร้สายของไทยเริ่มกลับมามีบทบาทอีกครั้ง ล่าสุด กูรูทางด้านเศรษฐกิจได้ออกมาประเมินตลาดดังกล่าวในช่วงปี 2560 ไว้ได้อย่างน่าสนใจ โดยมองว่าตลาดโทรคมนาคมแบบไร้สายของไทยในปี 2560 น่าจะมีการขยายตัวต่อเนื่อง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ตลาดโทรคมนาคมแบบไร้สายของไทยช่วงปี 2560 มองว่า โดยรวมอยู่ที่ประมาณ 232,937-237,160 ล้านบาท ขยายตัวในกรอบแคบราว 3.6-5.5% (ค่ากลาง 4.6% ) จากปีนี้ที่คาดว่าจะขยายตัวราว 5.1% โดยได้รับปัจจัยผลักดันหลังจากตลาดการให้บริการสื่อสารข้อมูลที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการขยายตัวของตลาดการให้บริการสื่อสารข้อมูลในปี 2560 นั้น จะมาจากแรงหนุนหลัก 3 ประการ คือ 1.กระแสนิยมในการเข้าใช้โมบายบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ต โครงข่าย 3G/ 4Gทุกที่ทุกเวลาในหมู่ผู้บริโภคไทย ซึ่งเป็นแนวโน้มต่อเนื่องมาจากปี 59
2. การใช้กลยุทธ์ทางการตลาดอย่างเข้มคนของกลุ่มผู้ประกอบการโทรคมนาคมแบบไร้สายภายใต้ภาวะการแข่งขันที่รุนแรงเพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาใช้บริการข้อมูลเพิ่มมากขึ้น และ 3. ธุรกิจเกิดใหม่อย่างธุรกิจดิจิทัลเทคสตาร์ทอัพได้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ มองว่าในปี 2560 กลุ่มผู้ประกอบการ โทรคมนาคมแบบไร้สายของไทยน่าจะมีแนวโน้มที่จะแสวงหาโอกาสทางธุรกิจอื่นๆมาเสริมร่วมกับการให้บริการสื่อสารข้อมูลอย่างเข้มคนมากขึ้นเพื่อเพิ่มรายได้จากแหล่งธุรกิจอื่นและชดเชยรายได้จากการให้บริการเสียงที่ลดลงเป็นอย่างมาก โดยคาดว่าธุรกิจการให้บริการสื่อสารข้อมูลอย่างเข้มข้นมากขึ้นเพื่อเพิ่มรายได้จากแหล่งธุรกิจอื่นและชดเชยรายได้จากการให้บริการเสียงที่ลดลงเป็นอย่างมาก โดยคาดว่าธุรกิจการให้บริการบันเทิงออนไลน์และการให้บริการโซลูชั่นทางด้านไอที น่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจที่ผู้ประกอบการโทรคมนาคมแบบไร้สายให้ความสำคัญในการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในช่วงราว 4 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนผ่านจากระบบ 2G สู่ 3G และในปีนี้ที่มีการเริ่มเปิดให้บริการ 4G ตลาดโทรคมนาคมแบบไร้สายของไทย โดยภาพรวมมีการขยายตัวโดยเฉลี่ยอยู่เพียง 2.9% ต่อปี (CAGR ตั้งแต่ปี 2556 – 2559) ซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับในอดีตหรือในช่วงก่อนมีการเปิดให้บริการ 3G ที่มีอัตราการขยายตัวโดยเฉลี่ยสูงมากกว่า 10% ต่อปีนั้น เป็นเพราะรายได้จากการให้บริการเสียงหดตัวลงเป็นอย่างมากจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคไทยที่นิยมติดต่อสื่อสารกันด้วยสื่อสังคมออนไลน์อย่างไลน์ Facebook กันมากขึ้น โดยหดตัวลงราว 29.8% ต่อปี (CAGR ตั้งแต่ปี 2556 – 2559)
การเติบโตของตลาดโทรคมนาคมแบบไร้สายของไทยในปัจจุบัน ได้อาศัยแรงหนุนมาจากรายได้การให้บริการสื่อสารข้อมูลเป็นหลักอันเนื่องมาจากผู้บริโภคไทยมีความต้องการเข้าใช้อินเตอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตในชีวิตประจำวันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมทางการเงิน การเข้าใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อติดตามข่าวสารหรือติดต่อสื่อสารกับกลุ่มเพื่อนรวมถึงการใช้บริการบันเทิงออนไลน์ต่างๆ โดยเฉพาะในรูปแบบวิดีโอออนดีมานด์ ทำให้มีความต้องการใช้โมบายบรอดแบรนด์อินเตอร์เน็ตผ่านโครงข่าย 3G/ 4G เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านความเร็วและปริมาณ จึงส่งผลให้ตลาดการให้บริการสื่อสาร ข้อมูลเติบโตสูงโดยเฉลี่ยราว 17.8% ต่อปี(CAGR ตั้งแต่ปี 2556 – 2559)
ในระยะข้างหน้ามองว่าตลาดโทรคมนาคมแบบไร้สายของไทยในปี 2560 น่าจะยังมีการขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2559 โดยน่าจะมีมูลราคาตลาดโดยรวมอยู่ที่ประมาณ 232,937-237,160 ล้านบาท ขยายตัวในกรอบแคบราว 3.6-5.5% จากปี 2559 ที่คาดว่าจะขยายตัวราว 5.1% โดยได้รับปัจจัยผลักดันหลักจากตลาดการให้บริการสื่อสารข้อมูลที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ การขยายตัวของตลาดการให้บริการสื่อสารข้อมูลในปี 2560 นั้น มองว่าน่าจะมาจากแรงหนุนหลัก 3 ประการโดยมีรายละเอียดดังนี้
ประการแรก กระแสความนิยมในการเข้าใช้โมบายบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตผ่านโครงข่าย 3G 4G ทุกที่ทุกเวลาในหมู่ผู้บริโภคไทยตามที่กล่าวมาข้างต้นซึ่งเป็นแนวโน้มต่อเนื่องมาจากปี 2559 โดยเฉพาะความนิยมในการเข้าใช้ 3G/ 4G เพื่อความบันเทิงไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกมออนไลน์ฟังเพลงออนไลน์ ดูทีวีออนไลน์ หรือดูหนัง หรือ ซีรีต่างประเทศ ออนไลน์ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น หรือสื่อสังคมออนไลน์อย่าง YouTube เป็นต้นซึ่งการใช้บริการบันเทิงออนไลน์ดังกล่าวจำเป็นต้องใช้การสื่อสารข้อมูลในปริมาณมาก
ประการที่สอง การใช้กลยุทธ์ทางการตลาดอย่างเข้มข้นของกลุ่มประกอบการโทรคมนาคมแบบไร้สายภายใต้สภาวะการแข่งขันที่รุนแรงเพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาใช้บริการข้อมูลเพิ่มมากขึ้น โดยอาจมีการนำเสนอ package การให้บริการข้อมูลในรูปแบบที่หลากหลายด้วยราคาที่คุ้มค่าอาทิการนำเสนอ package การใช้งานสื่อสารข้อมูลในปริมาณมาก ด้วยราคาที่สูงขึ้นจากเดิมเพียงเล็กน้อย แก่ลูกค้ารายเดิมและในส่วนลูกค้ารายใหม่ทั้งที่เปิดเบอร์ใหม่หรือย้ายค่ายผู้ประกอบการอาจให้ส่วนลดพิเศษสำหรับ package บริการสื่อสารข้อมูลในปริมาณมากเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดและเพิ่มรายได้จากฐานลูกค้าใหม่ซึ่งอาจส่งผลให้มีการใช้ งานบริการสื่อสารข้อมูลที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคตเป็นต้น
ประการที่สาม ธุรกิจเกิดใหม่อย่างธุรกิจดิจิทัลเทคสตาร์ทอัพ ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมในการดำเนินธุรกิจบนแพลตฟอร์มต่างๆในโลกออนไลน์ได้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยในปี 2560 น่าจะมีกลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่ให้ความสนใจและเข้ามาดำเนินธุรกิจในตลาดเพิ่มขึ้นโดยมีการคิดค้นโมเดลทางธุรกิจตลอดจนรูปแบบสินค้าและบริการใหม่ใหม่ที่หลากหลาย บนโลกออนไลน์ขนาดที่ผู้ประกอบการบางส่วนที่เริ่มเข้ามาดำเนินธุรกิจบ้างแล้วในปี 2559 ก็น่าจะมีการดำเนินธุรกิจกันอย่างจริงจังในปี 2560 เช่นกัน ทั้งนี้ หากโมเดลธุรกิจดิจิทัล เทคสตาร์ทอัพดังกล่าวสามารถตอบโจทย์ความต้องการหรือสามารถตอบสนองการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภคยุคใหม่ได้ก็น่าจะส่งผลให้เกิดการใช้งานโมบายบอร์ดแบนด์อินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอนาคต
จากปัจจัยผลักดันการใช้งานโมบายบอร์ดแบนด์อินเตอร์เน็ตตามที่กล่าวมาข้างต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าตลาดการให้บริการสื่อสารข้อมูลของไทยในปี 2560 น่าจะมีมูลค่าสูงถึง 153,894-157,633 ล้านบาทเติบโตราว 16.7-19.6% ชะลอตัวลงจากปี 2559 ที่คาดว่าจะเติบโตราว 21.6% ขณะที่มูลค่าตลาดด้านการให้บริการเสียงในปี 2560 นั้นคาดว่าน่าจะมีมูลค่าราคาประมาณ 78,558-79,527 ล้านบาทหดตัวราว 14.5-15.5% ซึ่งเป็นการหดตัวต่อเนื่องจากปี 2559 ที่คาดว่าจะหดตัวประมาณ 11.8% เนื่องจากกลุ่มผู้บริโภคไทยส่วนใหญ่นิยมติดต่อสื่อสารหรือพูดคุยผ่านสื่อสังคมออนไลน์กันมากขึ้น
อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่ามูลราคาตลาดการให้บริการสื่อสารข้อมูลในไทยจะยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากความต้องการใช้งานเป็นจำนวนมากแต่จะเห็นได้ว่าเป็นการเติบโตในอัตราที่ลดลงนั้น เป็นเพราะสภาพการแข่งขันที่เข้มข้นในตลาดโทรคมนาคมแบบไร้สายที่ผู้ประกอบการแต่ละรายพยายามแย่งชิงหรือรักษาส่วนแบ่งตลาดของตนไว้ โดยออกแพ็คเกจหลักหลายเพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้าให้หันมาใช้บริการของตนมากขึ้นส่งผลให้อัตราบริการสื่อสารข้อมูลถูกลงนำมาซึ่งรายได้ต่อเมกะไบต์ของกลุ่ม ผู้ประกอบการลดลงตามไปด้วยในขณะที่ผู้บริโภคอย่างมีการใช้บริการข้อมูลในปริมาณมากจึงยังคงรักษารายได้ของการให้บริการสื่อสารข้อมูลให้เติบโตอยู่ได้โดยปัจจุบันอัตราค่าบริการสื่อสารข้อมูลโดยเฉลี่ยนิ่มราคาอยู่เพียง 0.11 บาทต่อเมกะไบต์ลดลงจากปลายปี 2558 ถึง 57.7%
ทั้งนี้ผู้ประกอบการโทรคมนาคมแบบไร้สายอาจจำเป็นต้องมีต้นทุนเพิ่มขึ้นจากการลงทุนขยายโครงข่าย 4G อย่างต่อเนื่องในอนาคตเพื่อรองรับการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าในปี 2560 ผู้บริโภคไทยจะมีการใช้งานโมบายบอร์ดแบนด์อินเตอร์เน็ต ผ่านโครงข่าย 3G 4G ประมาณ 2.9 กิกะไบต์ต่อคนต่อเดือนซึ่งเป็นการใช้งานที่เพิ่มสูงขึ้นกว่า 37.0% จากปี 2559 อย่างไรก็ตามการใช้งานโมบายบอร์ดแบนด์อินเตอร์เน็ตที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นมองว่าได้รับแรงผักดันมาจากกลุ่มผู้ใช้งานเดิมเป็นหลัก
ขณะที่จำนวนผู้ใช้งานรายใหม่กับเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงเป็นอย่างมากเนื่องจากในปี 2559 ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายรายใหม่ที่มีศักยภาพและมีความต้องการใช้โมบายบอร์ดแบนด์อินเตอร์เน็ตได้รับแรงผลักดันจากการแข่งขันของกลุ่มผู้ประกอบการโทรคมนาคมแบบไร้สายที่พยายามดึงดูดผู้บริโภคกลุ่มดังกล่าวให้หันมาใช้งานโมบายบอร์ดแบนด์จนผ่านโครงข่าย 3G/ 4G เป็นจำนวนมากซึ่งอาจส่งผลให้จำนวนผู้ใช้งานรายใหม่เพิ่มขึ้นไม่มากนักในระยะข้างหน้า
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการโทรคมนาคมแบบไร้สายแต่ละราย อาจต้องมีการเตรียมเงินทุนสำหรับการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2600MHz ที่น่าจะมีการเปิดประมูลภายในปี 2560 เพื่อเพิ่มเติมซึ่งความเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงแบบไร้สาย ดังนั้น จะเห็นได้ว่าทิศทางธุรกิจโทรคมนาคมแบบไร้สายโดยภาพรวมในระยะข้างหน้า น่าจะมีการแข่งขันที่ทวีความเข้มข้นสูงขึ้น โดยอาจทำให้รายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยรวม ขยายตัวได้เพียงเล็กน้อย ในขณะที่ผู้ประกอบการ กลับมีต้นทุนที่สูงขึ้นทั้งจากค่าใช้จ่ายสำหรับการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ใหม่ รวมถึงการลงทุนขยายโครงข่าย 4G ที่เพิ่มมากขึ้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงมองว่าในปี 2560 กลุ่มผู้บริโภคการโทรคมนาคม แบบไร้สายของไทยน่าจะมีแนวโน้มที่จะแสวงหาโอกาสทางธุรกิจอื่นๆมาเสริมร่วมกับการให้บริการสื่อสารข้อมูลอย่างเข้มคนมากขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้จากแปลงธุรกิจอื่นและชดเชยรายได้จากการให้บริการเสียง ที่ลดลงเป็นอย่างมากผู้ประกอบการโทรคมนาคมแบบไร้สาย เน้นเพิ่มรายได้เสริมจากการให้บริการบันเทิงออนไลน์และโซลูชั่นทางไอทีในช่วง2-3 ปีที่ผ่านมา
ผู้ประกอบการโทรคมนาคมแบบไร้สายได้แสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ใหม่มาอย่างต่อเนื่อง โดยธุรกิจการให้บริการบันเทิงออนไลน์ นับว่าเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่กลุ่มผู้ประกอบการทุกคมนาคมแบบไร้สายได้ให้ความสนใจลงทุน เนื่องจากเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพเติบโตสูงหรอกิจกรรมบันเทิงต่างๆบนโลกออนไลน์เป็นกิจกรรมพื้นฐานที่ผู้บริโภคไทยนิยมเข้าใช้ในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะกลุ่มคนในเมืองและกลุ่มคนรุ่นใหม่
ทั้งนี้ ธุรกิจให้บริการบันเทิงออนไลน์ น่าจะยังเป็นธุรกิจที่กลุ่มผู้ประกอบการโทรคมนาคมแบบไร้สาย มุ่งเน้นให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องผ่านโครงข่าย 3G 4G อย่างเข้มคนมากขึ้นนอกจากนี้ยังคาดว่ากลุ่ม ผู้ประกอบการโทรคมนาคมแบบไร้สายในไทยน่าจะมีแนวโน้มร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ หรือร่วมทุนกับกลุ่มพวกกับการที่เป็นผู้ให้บริการบันเทิงออนไลน์ ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศมากขึ้นเพื่อสร้าง ทางเลือกที่หลากหลายและจูงใจให้ผู้บริโภคมีการใช้บริการสื่อสารข้อมูลเพิ่มขึ้น
ในที่สุดโดยผู้ประกอบการอาจมีการนำเสนอ package จากการใช้บริการบันเทิงออนไลน์ผ่าน โมบายแอพพลิเคชั่นที่เป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภคไทยพ่วงกับแพ็คเกจของการใช้บริการสื่อสารข้อมูลผ่านโครงข่าย 3G 4G เพื่อยกระดับการทำการตลาดและสร้างบริการที่คุ้มค่าแก่ผู้บริโภคมากขึ้นเช่นการนำเสนอ package รายสัปดาห์สำหรับดูภาพยนตร์ต่างประเทศผ่านแอพพลิเคชั่น ชื่อดังโดยผู้บริโภคสามารถเลือกดูภาพยนตร์แบบไม่จำกัดค่ายและจำนวนและยังสามารถเลือกดูภาพยนตร์โดยไม่เสียโคตาของแพ็คเกจสื่อสารข้อมูล 3G/ 4G เป็นจำนวนสองเรื่องต่อสัปดาห์เป็นต้น
นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่ากลุ่มผู้ประกอบการโทรคมนาคมแบบไร้สายในไทย น่าจะมีการบูรณาการการให้บริการโมบายบอร์ดแบนด์อินเตอร์เน็ตผ่านโครงข่าย 3G 4G รวมกับการให้บริการบอดแบนอินเตอร์เน็ตแบบมีสายผ่านโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติก เพื่อรองรับการให้บริการในรูปแบบอื่นๆเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการให้บริการระบบบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสาระสนเทศหรือโซลูชั่นทางด้านไอทีบนคลาวด์คอมพิวติ้ง ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการเครือข่ายหรือศูนย์จัดเก็บข้อมูลหรือที่เรียกว่าการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสาระสนเทศและการให้บริการพัฒนาซอฟต์แวร์ทางอินเตอร์เน็ตอย่างซอฟต์แวร์สำหรับบริหารจัดการสินค้าคงคลังออนไลน์ หรือซอฟต์แวร์สำหรับการจัดการระบบบัญชีออนไลน์เป็นต้นเนื่องจากเป็นที่ต้องการของภาคธุรกิจต่างๆในยุคดิจิตอลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังมองว่าผู้ประกอบการโทรคมนาคมแบบไร้สายในไทย น่าจะมีแนวโน้มหาพันธมิตรในด้านการสร้างสรรค์ไอเดียทางธุรกิจใหม่ใหม่อย่างธุรกิจดิจิตอลเทคสตาร์ทอัพเพิ่มขึ้น เพื่อขยายกรอบการดำเนินธุรกิจให้กว้างขึ้น โดยทำการคิดค้นโมเดลธุรกิจใหม่ใหม่บนโลกออนไลน์ เพื่อให้สามารถนำเสนอรูปแบบการให้บริการอื่นที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป ของผู้บริโภคโดยทั่วไปได้เป็นอย่างดี
และในขณะเดียวกันก็สามารถนำเสมอบริการระบบซอฟต์แวร์หรือโซลูชั่นทางด้านไอทีต่างๆ เพื่อตอบโจทย์ต่อความต้องการใช้งานของกลุ่มภาคธุรกิจในยุคการแข่งขันที่รุนแรง ยกตัวอย่างเช่น การร่วมเป็นพันธมิตรกับกลุ่มประกอบการที่พัฒนาแพลตฟอร์ม สำหรับการให้บริการจัดการคลังสินค้า และขนส่งสินค้าให้กับผู้ค้าปีก หรือผู้ค้าส่งออนไลน์ หรือการร่วมเป็นพันธมิตรกับประกอบการที่ให้บริการพัฒนาแพลตฟอร์ม หรือระบบซอฟต์แวร์ เพื่อการบริหารจัดการองค์กรทางออนไลน์เป็นต้น
ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการโทรคมนาคมสามารถนำไอเดียใหม่ใหม่ มาพัฒนาเป็นโมเดลธุรกิจการให้บริการในรูปแบบที่แปลกใหม่บนโลกออนไลน์โดยเป็นการให้บริการผ่านโครงข่ายบอร์ดเน็ต ทั้งแบบมีสายและไร้สายร่วมกัน อาทิผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจโดยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านโครงข่าย 3G 4G ขณะที่ผู้ประกอบการเองก็สามารถใช้บอร์ดแบนด์กันเน็ตแบบมีสายเป็นหลัก ในการบริหารจัดการรับส่งข้อมูลเชิงธุรกิจอยู่เบื้องหลังเป็นตอน ก็น่าจะทำให้การบริการเหล่านั้นมีประสิทธิภาพที่ดีจริงขึ้น
ดังนั้นจะเห็นได้ว่านอกเหนือจากรายได้ที่จะได้รับเพิ่มขึ้นจากการพัฒนารูปแบบ การให้บริการทางออนไลน์ในกลุ่มธุรกิจใหม่ตามทีกล่าวมาข้างต้น ผู้ประกอบการโทรคมนาคมก็น่าจะได้รับรายได้ จากการให้บริการสื่อสารข้อมูลเพิ่มขึ้นอีกมากในอนาคตเนื่องจากมีความต้องการใช้บรอดแบนอินเตอร์เน็ต ในปริมาณมากและในระยะข้างหน้าศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังมองว่าการมาของยุคอินเตอร์เน็ตอ๊อฟติ่งซึ่งเป็นยุคที่อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆในชีวิตประจำวันสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างการและถูกควบคุมการปฎิบัติการด้วยระบบเซ็นเซอร์และระบบอินเตอร์เน็ตอาจส่งผลให้การบริการสื่อสารข้อมูลผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นอีกมากในอนาคต