WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันศุกร์ ที่ 22 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
ส่งออกไทยเข็ญไม่ขึ้น…ขยายตัวในแนวราบ!!!

5 ธันวาคม 2559 : หลังจากกระทรวงพาณิชย์ ออกมาเปิดเผยตัวเลขภาคการส่งออกของช่วงเดือนตุลามคม2559 ที่ผ่านมาติดลบอีกแล้วราว 4.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันเมื่อปีที่ผ่านมา และติดลบราว 1.0% สำหรับช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ พอได้เห็นตัวเลขส่งออกติดลบในเดือนตุลาคมนี้ใจเริ่มชักไม่ดี ไม่ใช่เศรษฐกิจไทยย่ำแย่ เป็นผลมาจากฝั่งฝรั่งผมแดงโน้น ที่ดูท่าจะยังไงๆอยู่นะ ยิ่งสหรัฐอเมริกาได้นายโดนัล ทรัมป์ มานั่งเป็นประธานาธิบดีคนล่าสุด เล่นเอาคนหลายกลุ่มก้อนถึงกับนั้งไม่ติด เพราะผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในครั้งนี้ ดูจะกระทบไปในหลายคนที่เกี่ยวข้องกับสหรัฐฯทั้งในแง่บวกและแง่ลบ

แต่ปัจจัยลบด้านส่งออกไม่ใช่มาจากฝั่งอเมริกาอย่างเดียว ยุโรปก็มีส่วน รวมถึง จีน ญี่ปุ่น ก็รวมด้วย ซึ่งปัจจัยลบที่มาสนับสนุนในแต่ละโซนก็มีความแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม กูรู หลายสำนักยังมองเชิงบวกสำหรับภาคการส่งออกในช่วง2เดือนที่เหลือของปีนี้

export

ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์การส่งออกของไทยในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปีนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่า สำหรับการส่งออกในช่วงสองเดือนที่เหลือของปีนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงมีมุมมองต่อเศรษฐกิจโลกว่ายังมีความเปราะบาง โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนซึ่งเป็นคู่ค้าหลัก ทำให้ความต้องการสินค้าส่งออกไทยคงจะยังไม่ฟื้นตัวดี ประกอบกับความผันผวนในตลาดเงินโลก ทำการคาดการณ์ถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)ในเดือนธันวาคมนี้ เป็นแรงกดดันต่อราคาทองในตลาดโลกให้ลดลงต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าไทยในช่วง 2 เดือนสุดท้ายปีนี้จะขยายตัวเป็นบวกเนื่องจากฐานเปรียบเทียบที่ต่ำจึงทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าการส่งออกทั้งปีนี้น่าจะกดตัวที่ -0.5% เมื่อเทียบกับช่วงปีที่ผ่านมา

ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้อธิบายว่า มูลค่าราคาส่งออกสินค้าเดือนตุลาคม 2559 กลับมาหดตัวที่ 4.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่าตลาดโลกยังไม่ฟื้นตัวดี ส่งผลให้มูลค่าส่งออกสินค้าของไทย 10 เดือนแรกของปี 2559 หดตัวที่ 1.0% เมื่อเทียบกับช่วงปีที่ผ่านมาโดยการส่งออกที่หดตัวลงในเดือนตุลาคม 2559 นี้ เป็นผลมาจากการหดตัวของสินค้าหลายรายการส่งออกสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการส่งออกเครื่องปรับอากาศในตลาดอาเซียน จากสภาพอากาศที่เริ่มมีอุณหภูมิต่ำลง ในส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบที่หดตัวลงในตลาดสหรัฐและสหภาพยุโรปนั้น เป็นไปตามวงจรผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ออกมา รวมถึงการส่งออกสินค้าเกษตรหลักก็หดตัวลงทุกประเภท

20

โดยการส่งออกข้าวที่กลับมาหดตัวลงเป็นผลมาจากอุปทานในตลาดโลกที่มีมากขึ้นในขณะที่ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังยังคงเผชิญปัญหาการระบายสต๊อกข้าวโพดของจีน ทำให้ความต้องการมันสำปะหลังจากไทยลดลงต่อเนื่อง นอกจากนี้ การส่งออกปิโตรเคมีและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ น้ำมันสำเร็จรูปเมล็ดพลาสติก และยางพาราก็ยังคงหดตัวตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังอยู่ในระดับต่ำ

ในขณะที่สินค้าส่งออกหลักอย่างชิ้นส่วนรถยนต์สินค้าประมง รวมถึงผลิตภัณฑ์ยาง คาดว่า จะยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่องในไตรมาส4/2559 โดยมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนและอุปกรณ์รถยนต์ในเดือนตุลาคม 2559 ขยายตัวสูงถึง 14.5% เมื่อเทียบกับช่วงปีที่ผ่านมา จากการขยายตัวของการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ในอัตราที่สูงไปยังประเทศที่มีฐานการผลิตรถยนต์ อย่างอินโดนีเซีย เวียดนาม แม็กซิโก และจีน สอดรับไปกับการส่งออกรถยนต์นั่งไปยังตลาดดังกล่าว ที่เติบโตในอัตราที่สูง

อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยที่หดตัวในเดือนตุลาคม 2559 มาจากการหดตัวในตลาดออสเตรเลียที่ 14.5% เมื่อเทียบกับช่วงปีที่ผ่านมา จากการเร่งการส่งออกไปจำนวนมากในช่วงเดือนก่อนหน้า รวมถึงตลาดสหภาพยุโรปและตลาดตะวันออกกลางอย่างซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเมิเรตส์เรทที่หดตัวลงมากจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงไม่ฟื้นตัวดี

ในขณะที่การส่งออกสินค้าประมงในเดือนตุลาคม 2559 ยังสามารถเติบโตในอัตราเลขสองหลัก โดยเฉพาะการส่งออกสินค้ากุ้ง และปลาทูน่ากระป๋อง ที่ต้องการสินค้ายังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องจากตลาดสหรัฐและญี่ปุ่น ส่งผลให้ทิศทางในช่วงที่เหลือของปีนี้อีก2เดือนข้างหน้า คาดว่า สินค้าประมงยังคงขยายตัวได้ในระดับสูง จากความต้องการในช่วงเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ ในขณะที่กำลังการผลิตของประเทศไทยก็มีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสอดรับกับความต้องการได้

19

ส่วนการรายงานตัวเลขการส่งออกเดือนตุลาคม 2559 ที่ทางกระทรวงพาณิชย์แจ้งออกมานั้น โดยนางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เปิดเผยว่า ภาวะการส่งออกเดือนตุลาคม 59 มีมูลค่า 17,783 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือติดลบร้อยละ 4.2 แต่หากรวม 10 เดือนการส่งออกมีมูลค่า 178,251 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมีอัตราติดลบอยู่ที่ร้อยละ 1 ซึ่งยังดีกว่าภาวะการส่งออกของโลกในภาพรวมที่ติดลบร้อยละ 4.1 อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการส่งออกในเดือนตุลาคม 59 หากไม่รวมน้ำมันและทองคำ ตัวเลขจะอยู่ที่ติดลบร้อยละ 2.8

สาเหตุที่ติดลบค่อนข้างมากเป็นเพราะการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน โดยลดลงร้อยละ 2.7 โดยเฉพาะ น้ำมันสำเร็จรูปติดลบร้อยละ 27.6 ,คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบติดลบร้อยละ 9.3 , ทองคำ ติดลบร้อยละ 40 ,รถยนต์และส่วนประกอบติดลบร้อยละ 5.8 ,เหล็ก ติดลบร้อยละ 52.4 และวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ ติดลบร้อยละ 24.5

ส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรกลับมาหดตัวอีกครั้ง หลังจากขยายตัวสูงสุดในรอบสองปีเมื่อเดือนที่ผ่านมา โดยหดตัวร้อยละ 8.1 เป็นผลจากการลดลงของปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญได้แก่น้ำตาลทราย ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และยางพารา โดยลดลงร้อยละ 52.6 , 24.4 , 22.9 ,และร้อยละ 5.0 ตามลำดับ

76

ขณะที่การนำเข้าในเดือนต.ค.59 มีมูลค่า 17,535 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่สองที่ร้อยละ 6.5 ส่งผลให้การค้าเกินดุล 248 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นการเกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 18 ติดต่อกัน รวม 10 เดือนการนำเข้ามีมูลค่า 160,073 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 5.9

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การส่งออกของไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศส่วนใหญ่ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีและสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจโลก โดยส่วนแบ่งตลาดของไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นในเกือบทุกตลาด และการส่งออกไปยังตลาดสำคัญ เช่น ญี่ปุ่น จีน เอเชียใต้ และ CLMV ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง และคาดการ์ณที่เหลือใน 2 เดือนของปีนี้น่าจะส่งออกได้ไม่ต่ำกว่า 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์การส่งออกปี 2559 ไว้ทีร้อยละ -1.0 ถึง 0 เช่นเดิม แต่ในปีหน้า เชื่อว่ามีหลายปัจจัยหนุนที่จะทำให้การค้าของโลกดีขึ้น จะส่งผลให้การส่งออกของไทยปรับตัวไปในทิศทางดีขึ้นตามตลาดโลกเช่นกันlogo เล็ก (ปิดท้ายข่าว)

เศรษฐกิจ ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP