WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันศุกร์ ที่ 22 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
พลังงานรวงหรือรุง…ในยุคทรัมป???

24 พฤศจิกายน 2559 : ดร. ศิวาลัย ขันธะชวนะ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย จํากัด (มหาชน) มองว่า ชัยชนะของ โดนัลด ทรัมป ประธานาธิบดีคนใหมของสหรัฐฯ สงผลกระทบตออุตสาหกรรมพลังงานอยางมีนัยสําคัญ ทรัมปสนับสนุนธุรกิจน้ํามันที่ไดจากฟอสซิล โดยมีเปาหมายตองการใหสหรัฐฯ ลดการพึ่งพาการนําเขาน้ํามัน และมีพลังงานเพียงพอใชในประเทศ ในทางกลับกัน ธุรกิจพลังงานทดแทนมีความเสี่ยง เพราะทรัมปผอนคลายกฎระเบียบดาน สิ่งแวดลอม และลดความสําคัญในธุรกิจพลังงานทดแทน

ทั้งนี้ นโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมน้ํามันของทรัมปจะเปนโอกาสของธุรกิจสํารวจขุดเจาะน้ํามัน และธุรกิจปโตรเคมีไทยที่จะเขาไปขยายการลงทุนในสหรัฐฯ แตยังตองระวังความเสี่ยงดานกฎระเบียบการลงทุนจากตางประเทศ สําหรับธุรกิจพลังงานทดแทนในสหรัฐฯมีแนวโนมชะลอตัว จึงเปนความเสี่ยงใหกับผูผลิตและสงออกชิ้นสวน เชน แผงโซลาร ไปสหรัฐฯ ที่ตองหาตลาดทดแทนราคาน้ํามันมีแนวโนมทรงตัวอยูในระดับต่ํา เนื่องจากปจจัยกดดันดานอุปทานน้ํามันที่มีแนวโนมสูงขึ้นจากกิจกรรมสํารวจขุดเจาะในสหรัฐฯ

อยางไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงดานภูมิรัฐศาสตร หากสหรัฐฯ กลับมาพิจารณาเรื่องการคว่ำบาตรอิหราน จะทําใหราคาน้ํามันพุงสูงขึ้น อีไอซีประเมินราคาน้ํามันในป 2017 จะอยูที่ระดับราว 52 ดอลลารสหรัฐฯ/บารเรล เนื่องจากนโยบายของทรัมปสนับสนุนการลงทุนและการจางงานในธุรกิจน้ํามัน มุงสูเปาหมายใหสหรัฐฯ เปนประเทศที่พึ่งพาตัวเองดานพลังงาน นโยบายสําคัญที่จะชวยผลักดันการลงทุนในธุรกิจน้ํามัน ไดแก 1) การเพิ่มพื้นที่ขุดเจาะน้ํามันในที่ดินของรัฐบาลกลาง (federal land) ทั้งบนบก ในทะเล บริเวณอาวเม็กซิโก และมหาสมุทรอารคติก ซึ่งสหรัฐฯ มีทรัพยากรน้ํามันและกาซธรรมชาติที่ยังไมไดขุดเจาะออกมาสูงที่สุดในโลก คิดเปนมูลคาสูงถึงราว 50 ลานลานดอลลารสหรัฐฯ

Presentation1

2) การขอใบอนุญาตขุดเจาะน้ํามันในที่ดินของรัฐบาลกลางจะรวดเร็วขึ้น จากเดิมที่ใชระยะเวลาสูงถึง 300 วัน ทําใหผูผลิตน้ํามันสวนใหญหันไปเชาที่ดินเอกชนหรือที่ดินของรัฐแทน ซึ่งใชเวลาขอใบอนุญาตสั้นกวามาก เชน ใน Texas ใชเวลาเพียง 2-4 วันทําการเทานั้น และ 3) การปฏิรูปภาษีในธุรกิจน้ํามัน เชน การนํา Intangible Drilling Cost (IDC) มาลดหยอนภาษีไดนโยบายดังกลาว จะเปนแรงจูงใจใหธุรกิจสํารวจและผลิตน้ํามันขยายการลงทุน มีตนทุนที่ถูกลง และสรางงานในธุรกิจน้ํามันไดราว 5 แสนตําแหนง สงผลใหอุปทานน้ํามันเพิ่มขึ้น และมีโอกาสที่สหรัฐฯ จะเปลี่ยนจากผูนําเขากลายเปนผูสงออกน้ํามันสุทธิภายในป 2023 เร็วกวาที่เคยคาดการณไวที่ป 2028

นอกจากนี้ หากทรัมปตัดสินใจกลับมาคว่ําบาตรอิหรานเรื่องโครงการนิวเคลียรอีกครั้ง จะทําใหราคาน้ํามันทะยานสูงขึ้น ในขณะเดียวกัน ธุรกิจพลังงานทดแทนมีแนวโนมชะลอตัว เนื่องจากทรัมปอาจยกเลิกนโยบายตางๆ ที่สนับสนุนการลงทุนดานพลังงานทดแทน สงผลกระทบตอตนทุนของผูผลิตในสหรัฐฯ และผูสงออกอุปกรณผลิตพลังงานทดแทน ทรัมปโจมตีการผลิตไฟฟาจากแสงอาทิตย และพลังลมวามีตนทุนแพง ดังนั้น มีความเปนไปไดสูงวาทรัมปจะยกเลิกนโยบายที่สนับสนุนธุรกิจพลังงานทดแทน เชน แผนพลังงานสะอาด (Clear Power Plan) ที่จํากัดการปลอยกาซคารบอนไดออกไซดของโรงไฟฟา

อยางไรก็ตาม นโยบายที่ผานสภาคองเกรสไปแลว เชน การใหproduction tax credit (PTC) จํานวน 23 ดอลลารสหรัฐฯ/เมกะวัตตชั่วโมง แกผูผลิตพลังงานลม และ investment tax credit(ITC) 30% ของโครงการพลังงานแสงอาทิตยนาจะยังดําเนินไดตอไปเพราะไดรับการสนับสนุนจากทั้งพรรครีพับลิกัน และเดโมแครต ซึ่งเดิมมาตรการดังกลาวไดทําใหการลงทุนธุรกิจพลังงานทดแทนในสหรัฐฯ มีการเติบโตอยางกาวกระโดด เชน การให ITC ที่ดําเนินมาตั้งแตป 2006 ทําใหการติดตั้งแผงโซลารในสหรัฐฯ เติบโตถึง 76% ตอป

Presentation2

การลดการสนับสนุนนโยบายพลังงานทดแทนของทรัมป จะสงผลกระทบตอธุรกิจพลังงานหมุนเวียนในสหรัฐฯ ใหมีตนทุนสูงขึ้นหลังจากที่นโยบาย PTC และ ITC หมดอายุลงตามแผนในป 2019 และ 2023 ตามลําดับ รวมไปถึงผูผลิตในเอเชียโดยเฉพาะจีน ซึ่งเปนผูสงออกหลักของแผงโซลาร และอินเวอรเตอร ที่ใชในระบบการผลิตไฟฟาจากแสงอาทิตยจะมีความสามารถในการแขงขันลดลง เนื่องจากทรัมปอาจเพิ่มภาษีนําเขาสินคาดังกลาวใหสูงถึง 30-45% จากปจจุบันอยูที่ราว 5-11% คาดวาในอีก 4-8 ปขางหนา อัตราการขยายตัวของการผลิตไฟฟาจากพลังงานทดแทนในสหรัฐฯ จะชะลอตัวลงเหลือราวปละ 2% โดยเฉลี่ย จากเดิมขยายตัวที่ราว 24%

อีไอซีมองวา ราคาน้ํามันยังถูกกดดันจากอุปทานน้ํามันที่จะสูงขึ้นอีกมากในสหรัฐฯ ในระยะกลางราคาน้ํามันมีแนวโนมสูงขึ้นตามการฟนตัวของอุปสงคน้ํามันและเศรษฐกิจโลก การปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ํามันในระยะสั้นยังคอนขางจํากัด เนื่องจากการลงทุนขุดเจาะน้ํามันที่ไดรับแรงกระตุนจากนโยบายของทรัมป จะยิ่งทําใหอุปทานน้ํามันลนตลาดมากขึ้นอีก เวนแตวาจะมีเรื่องการคว่ําบาตรอิหราน ที่จะทําใหราคาน้ํามันทะยานสูงขึ้นได

ในระยะกลางคาดวาราคาน้ํามันจะคอยๆปรับระดับสูงขึ้น จากปจจัยดานอุปสงคน้ํามันที่เรงขึ้นมาทันกับอุปทาน โดยมาตรการกระตุนเศรษฐกิจ การลดภาษีนโยบายสนับสุนนภาคธุรกิจ การใชจายในโครงการกอสรางโครงสรางพื้นฐาน เชน ถนน สนามบิน รวมถึงการผอนคลายกฎระเบียบดานสิ่งแวดลอมของทรัมป จะผลักดันใหมีความตองการใชน้ํามันสูงขึ้น ทั้งนี้ อีไอซีประเมินราคาน้ํามันในป 2017 จะอยูที่ระดับราว 52 ดอลลารสหรัฐฯ/บารเรล

Presentation3

ธุรกิจสํารวจขุดเจาะน้ํามันไทยมีโอกาสขยายการลงทุนในสหรัฐฯ แตตองระวังความเสี่ยงเรื่องกฎระเบียบการลงทุนทางตรงจากตางประเทศ นโยบายดานพลังงานของทรัมป สนับสนุนใหมีการสํารวจขุดเจาะทรัพยากรน้ํามันในประเทศที่มีปริมาณมหาศาลจึงเปนโอกาสของบริษัทสํารวจและผลิตน้ํามันที่จะขยายการลงทุนในสหรัฐฯ นอกจากนี้ อุปทานน้ํามันและกาซธรรมชาติที่จะเพิ่มสูงขึ้นมากเปนผลดีตอธุรกิจปโตรเคมีไทย ที่จะเขาไปตั้งโรงผลิตในสหรัฐฯเพื่อชิงความไดเปรียบดานวัตถุดิบและตนทุน

อีไอซีมองวาการทํา M&A กับบริษัทในสหรัฐฯ เปนทางเลือกที่ดี เพื่อลดความเสี่ยงเรื่องกฎเกณฑดาน FDI ที่อาจเกิดขึ้นภายใตรัฐบาลทรัมป ที่เนนการดําเนินนโยบายแบบปกปองและชาตินิยมในระยะสั้น ราคาน้ํามันมีแนวโนมทรงตัวในระดับต่ํา ธุรกิจไทยที่ไดรับอานิสงส ไดแก ธุรกิจปโตรเคมี โรงกลั่น สายการบิน และโลจิสติกส ในภาพรวม ไทยเปนประเทศผูนําเขาน้ํามันสุทธิและครัวเรือนจะสามารถประหยัดคาใชจายในการนําเขาและบริโภคน้ํามันในสวนของธุรกิจปโตรเคมีที่ใชแนฟทาเปนวัตถุดิบจะมีความสามารถในการแขงขันดีขึ้น สําหรับธุรกิจที่มีตนทุนน้ํามันเปนสัดสวนใหญ เชน โรงกลั่น สายการบิน และโลจิสติกส จะไดรับอานิสงสจากตนทุนที่อยูในระดับต่ําและไมผันผวนมากนัก

อยางไรก็ตาม ครัวเรือนในภาคเกษตรจะไดรับผลกระทบจากราคาสินคาโภคภัณฑที่ไดรับแรงกดดันจากราคาน้ํามันในระยะสั้นธุรกิจที่เกี่ยวของกับพลังงานทดแทน ในสหรัฐฯ มีความเสี่ยง ควรมองหาตลาดอื่นที่เนนสินคาพรีเมียม เชน ธุรกิจไทยที่ผลิตแผงโซลารเพื่อสงออกไปยังสหรัฐฯ นอกจากจะไดรับผลกระทบจากธุรกิจพลังงานทดแทนในสหรัฐฯ ที่มีแนวโนมชะลอตัว ยังอาจไดรับผลกระทบจากภาษีนําเขาที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายปกปองทางการคา ดังนั้น ผูผลิตควรมองหาตลาดอื่นที่เนนสินคาที่มีคุณภาพสูงทดแทนตลาดสหรัฐฯ เชน ญี่ปุน หรือยุโรป logo เล็ก (ปิดท้ายข่าว) - Copy

เศรษฐกิจ ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP