21 พฤศจิกายน 2559 : อีกแค่เดือนกว่าๆ ปี2559 ก็จะสิ้นสุดปีกันอย่างเป็นทางการ ตลอดทั้งปีมีเหตุการณ์ต่างๆ เข้ามาทดสอบความอดทนทั้งประชาชนทั่วไป นักธุรกิจ นักลงทุน ฯลฯ หากกล่าวถึงเศรษฐกิจไทย สิ่งที่ยังค้ำคออย่างหนักหน่วง คงจะไม่พ้นเรื่องของหนี้ภาคครัวเรือนที่ยังขยับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แม้จะมีมาตรการออกมาช่วยอัตราดังกล่าวให้ปรับลดลงมากก็ตาม แต่ก็ยังเป็นปัจจัยกดดันหลักที่ยังมีอิทธิพลหลักในการเติบโตอย่างยังยืนของเศรษฐกิจ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวถึงเรื่องค่าครองชีพต่อความเชื่อมั่นครัวเรือนไว้อย่างน่าสนใจว่า ความเชื่อมั่นของครัวเรือนต่อภาวะการของชีพในปัจจุบัน ลดลงครั้งแรกในรอบสามเดือน เนื่องจากครัวเรือนมีความกังวลมากขึ้นในประเด็นเรื่อง สถานการณ์ทางการราคาสินค้าและภาระ ค่าใช้จ่าย (ไม่รวมหนี้) อย่างไรก็ดี มองว่าสถานการณ์ราคาสินค้ายังเป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในระยะข้างหน้าจะเป็นตัวตัดสินทางน้ำมันดิบในตลาดโลกช่วงถัดจากนี้ไป ขณะที่ราคาเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มน่าจะค่อยๆ ผ่อนคลาย หลังอุปทานเพิ่มขึ้น มากเพียงพอที่จะรองรับกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น
สำหรับภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือนเดือนตุลาคม 2559 ตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 42.9 จากระดับ 44.2 ในเดือนกันยายน 2559 โดยครัวเรือนนี้มีความจำกังวลเพิ่มขึ้นในสถานการณ์ทางด้านราคาสินค้าหลังราคาสินค้าบริโภครับตัวสูงขึ้นในเดือนตุลาคม ซึ่งส่งผลต่อเรื่องให้ครัวเรือน เป็นกังวลต่อประเด็นเรื่องค่าใช้จ่ายมากขึ้นตามไปด้วย ในขณะสะท้อนมุมมองคาดการณ์สามเดือนข้างหน้ายังคงทรงตัวอยู่เนื้อดับเดินที่ 44.4 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 สะท้อนให้เห็นว่าครัวเรือนยังไม่เปลี่ยนแปลงความเชื่อมาสะกิดไทยในระยะข้างหน้า ซึ่งก็น่าจะส่งผลให้การบริโภคของภาคเอกชนในช่วงระยะเวลาที่เหลือของ 2559 ประคองตัวไปได้
นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยว่า ความเชื่อมั่นภาคครัวเรือนในช่วงที่เหลือของปีนี้ น่าจะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนตุลาคมส่วนหนึ่งเป็นเพราะเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่นทั้งใน ด้านการบริโภคมการท่องเที่ยว และการส่งออกแต่ยังต้องติดตามสถานการณ์ทางด้านราคาสินค้า ที่จะส่งผลต่อค่าครองชีพของครัวเรือน ทั้งในส่วนของราคาอาหารสดที่มีแนวโน้มสูงขึ้นจากอุทกภัยในพื้นที่เพาะปลูก และในส่วนของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีก ภายในประเทศที่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์น้ำมันดิบในตลาดโลกรวมถึงติดตามมติขอในเรื่องการปรับค่าจ้างขั้นต่ำภายในประเทศซึ่งน่าจะมีผลต่อรายได้ของครัวเรือนในระยะข้างหน้า
ความเชื่อมั่นของครัวเรือนผลิกกลับมาปรับตัวลดลงในเดือนตุลาคมของปีนี้อีกครั้ง หลังจากปรับตัวดีขึ้นติดต่อกัน 2 เดือน คือ ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงกันยายน สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองที่ระมัดระวังมากขึ้นของครัวเรือนต่อภาวะการดำรงชีพในปัจจุบัน โดยในเดือนตุลาคมนี้ ครัวเรือนกลับมามีความกังวลมากขึ้นในประเด็นเรื่อง ราคาสินค้าหลังราคาสินค้าบริโภคหลายรายการปรับตัวสูงขึ้นดังจะเห็นได้จากตัวเลขรัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปประจำเดือนตุลาคมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.16% จากเดือนก่อนหน้า ในขณะที่สถานการณ์ทางด้านรายได้ของครัวเรือนเดือนตุลาคมยังคงทรงตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงกันก่อนหน้า จึงทำให้ครัวเรือนรู้สึกเป็นกังวลมากขึ้นในประเด็น เรื่องภาระค่าใช้จ่ายที่น่าจะสูงขึ้น สินค้าที่แพงขึ้นภายใต้กำลังซื้อเท่าเดิม
ดัชนีองค์ประกอบที่แสดงมุมมอง ต่อสถานการณ์ทางด้านราคาสินค้าในเดือนตุลาคม 2559 ปรับตัวลดลงมาเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือนมาอยู่ที่ระดับสาม 37.4 จากระดับ 41.7 ในเดือนกันยายนหลังสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันหลายอย่างการปรับตัวสูงขึ้นในเดือนตุลาคม ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปีกในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นราวร้อยละ 3-5 จากเดือนก่อนหน้าทางทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น จากผลการบรรลุข้อตกลงเบื้องต้นของประเทศสมาชิกกลุ่มโอเปคในการลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบมาอยู่ที่ระดับ 32.5 -33.0 บาร์เรล/วัน เพื่อรักษาเสถียรภาพทางด้านราคา
รวมถึงราคาเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มก็ปรับตัวสูงขึ้นตามความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้ราคาสินค้าที่สูงขึ้นได้ส่งผลให้ครัวเรือนมีความกังวล เรื่องค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามไปด้วยสะท้อนให้เห็นจากดัชนีองค์ประกอบที่แสดงมุมมองต่อภาระค่าใช้จ่ายปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ36.0 เดือนตุลาคมจากระดับ 39.0 ในเดือนกันยายน
ในขณะที่ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนส่วนใหญ่ ไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการจัดระเบียบทางเท้าของกทม.จากผลสำรวจครัวเรือนที่อยู่อาศัยหรือทำงานในกรุงเทพตอบประเด็นเรื่อง การจัดระเบียบทางเท้าบริเวณริมถนนใหญ่ของกทม. ที่เริ่มใช้ตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมาพบว่า ครัวเรือนส่วนใหญ่ร้อยละ 71.2 มองว่ามาตรการจัดระเบียบทางเท้าไม่ส่งผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายของครัวเรือนเนื่องจาก ครัวเรือนสามารถซื้อหาสินค้าทดแทนที่ราคาใกล้เคียงกัน ตามร้านค้าได้
ในขณะที่ 14.3% ของครัวเรือนที่ทำการสำรวจเปิดเผยว่า มีค่าใช้จ่ายน้อยลงเนื่องจากไม่มีแผนลอยริมทางจูงใจให้ซื้อระหว่างทางและโดยมากสินค้าที่วางขายริมทางเป็นสินค้าไม่จำเป็นเพียงร้อยละ 14.5 ของครัวเรือนที่การจัดระเบียบทางเท้า ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น เพราะมองว่าสินค้าทดแทนตามร้านค้ามีราคาสูงกว่าที่ขายตามแผงลอยริมถนน
ดัชนีสะท้อนมุมมองคาดการณ์ในช่วงสามเดือนข้างหน้ายังคงทรงตัวที่ระดับ 44.4 ต่อเนื่อง สะท้อนว่า ยังไม่มีปัจจัยใหม่ที่เข้ามาเพิ่มเติมหรือลดทอนความกังวลของครัวเรือนต่อภาวะการครองชีพในช่วงปลายปีนี้ไปจนถึงต้นปีหน้า ซึ่งมุมมองคาดการณ์ที่ไม่เปลี่ยนแปลงของครัวเรือนนี้ น่าจะส่งผลให้การบริโภคของภาคเอกชนในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้สามารถประคองตัวไปได้