WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันเสาร์ ที่ 23 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
KBank ชี้การลงทุนอย่างยั่งยืนคือ “ทางรอด”

28 กันยายน 2565 : นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Executive Chairman, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผย บนเวทีเสวนา “การลงทุนเพื่อความยั่งยืน: “ทางรอด” ไม่ใช่ “ทางเลือก” (Investment for Sustainability: Transition or Extinction)” การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกได้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ รวมถึงสร้างความเสี่ยงแก่ภาคธุรกิจและการลงทุนอย่างมหาศาล ในฐานะผู้นำด้านบริการบริหารความมั่งคั่งในประเทศไทยและผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน ธนาคารเชื่อว่า การลงทุนจะเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะเปิดประตูทางออกสำหรับวิกฤตินี้

ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างผลตอบแทนที่มั่นคง ผ่านการสนับสนุนธุรกิจที่ปรับตัวเข้ากับเศรษฐกิจที่มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ซึ่งจะมีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นในอนาคต และกลายเป็นธุรกิจผู้ชนะในที่สุด โดยหากดูจากผลตอบแทนของกองทุนเพื่อความยั่งยืนในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่าส่วนใหญ่มีผลการดำเนินงานเหนือกว่าดัชนีชี้วัด ซึ่งเป็นเครื่องสะท้อนว่าการลงทุนเปลี่ยนโลกไม่ใช่การเสียสละ หรือเป็น ‘ทางเลือก’ ที่มีต้นทุนสูงกว่าราคาเฉลี่ย แต่เป็นการสร้าง ‘ทางรอด’ ให้กับพอร์ตการลงทุนในอนาคต”

สำหรับธนาคารเข้ามาเกี่ยวข้องใน 2 มิติ 1. มีหน้าที่ 2. มีกำลัง โดย 4 กำลังหลักในการขับเคลื่อน ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว 4 กำลังหลักทำงานเต็มที่ แต่สำหรับประเทศไทยยังไม่ได้เริ่มทำงานอย่างเต็มที่ แต่มีบางส่วนเริ่มทำงานแล้วและทำให้เรื่องนี้ใกล้ตัวมากขึ้น ได้แก่

1.Policy and Regulations ส่วนงานกำกับดูแลที่ออกกฎเกณฑ์ โดยใครก็ตามที่ยังปล่อยคาร์บอน ก๊าซเรือนกระจก ทำลายสิ่งแวดล้อมเกินปริมาณซึ่งมีทิศทางไปสู่ Net Zero ในปี 2050 บริษัทเหล่านั้นจะถูกลงโทษ ผ่านการถูกเก็บภาษีเพิ่มขึ้น โดยโทษสูงสุดอาจถึงกับถูกริบใบอนุญาตประกอบกิจการ

2.Market Forces กลไกการตลาด เป็นตัวผลักดัน แต่สามารถนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ได้ 

3.Consumer Demand ผู้บริโภคเป็นกลจักรสำคัญในการผลักดัน โดยคัดสรรบริโภคของที่มาจากแหล่งผลิตที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซเรือนกระจก หรือเลือกที่จะบอยคอทสินค้าที่ไม่ทำเพื่อสิ่งแวดล้อม Net Zero ซึ่งในอนาคตเราอาจจะเห็นผู้ผลิตสินค้าติดตราสัณญลักษณ์เช่นเดียวกับฉลากเบอร์ 5 ที่สามารถพิจารณาเลือกบริโภคได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น  

4.Investors ธนาคารเป็นที่ปรึกษานักลงทุน หากนักลงทุนร่วมกันไม่สนับสนุนไม่ลงทุนกับบริษัทที่ไม่ปรับตัว ต่อเรื่องดังกล่าวจะเป็นเรื่องใหญ่ เพราะทุกบริษัทต้องการเงินจากนักลงทุนไปขยายธุรกิจ เป็นเงินทุนหมุนเวียน ซึ่งกสิกรไทยเองในอนาคตเราอาจจะปล่อยสินเชื่อให้กับบริษัทที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากๆ ไม่ได้อีกต่อไป หรือในมุมนักลงทุนอาจจะไม่แนะนำกองทุนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเยอะ เป็นต้น 

ช่วงต้นปี ธนาคารจะได้รับจดหมายจากนักลงทุนสถาบันหลายแห่งทั่วโลก มีเนื้องหาว่า ธนาคารมีมาตรการยกเลิก งดเว้นการปล่อยสินเชื่อให้กับบริษัทที่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมแล้วหรือยัง รวมถึงมีมาตรการเปลี่ยนแปลงไปให้บริการเฉพาะผู้ที่รักษาสิ่งแวดล้อมหรือยัง หากไม่ตระหนักเรื่องนี้ ในอนาคตจะขายหุ้นธนาคารทิ้ง!...ฉะนั้นแรงขับเคลื่อนของผู้บริโภคมุ่งไปสู่ทุกๆ อุตสาหกรรมรวมถึงธนาคารด้วย ดังนั้น เรื่องนี้ถึงอย่างไรธนาคารก็ต้องเอาจริงเอาจังอย่างแน่นอน

ส่วนที่ 2.ธนาคารมีหน้าที่ ในการเป็นที่ปรึกษาของนักลงทุน โดยมีหน้าที่สร้างผลตอบแทนและปกป้องพอร์ตโฟลิโอของนักลงทุน ซึ่งหากเราลงทุนกับบริษัทที่อนาคตจะถูกแบนในทุกภาคส่วนคงไม่ดีแน่ ดังนั้นในฐานะที่ปรึกษาการลงทุนจะต้องคัดสรรบริษัทที่ไม่ถูกแบนใน 4 ปัจจัยที่ถูกกระทบข้างต้นนี้ 

ทั้งนี้ ด้วยความร่วมมือจากพันธมิตรระดับโลก   LOMBARD ODIER   (ลอมบาร์ด โอเดียร์)  ทำให้ KBank Private Banking สามารถตอบสนองทุกโอกาสการลงทุนทั้งในและต่างประเทศได้ ยกตัวอย่างทาง   LOMBARD ODIER เขาพร้อมที่จะลดขนาดบริษัทหรือกองทุนที่ลงทุนให้ลดน้อยลง จากในตระกล้าของบริษัทที่ลงทุนอยู่มีจำนวน 10,000 บริษัท เมื่อนำมาตรการ ESG เข้าไปจับ หลังจากนั้นจึงลดขนาดบริษัทที่ไม่ปฏิบัติตามทิ้ง เหลือบริษัทที่จะเข้าไปลงทุนเพียง 3,500 บริษัทเท่านั้น และเชื่อว่าบริษัทที่เหลือนี้จะไม่ถูกยึดใบอนุญาตหรือถูกแบนจากผู้บริโภคหรือนักลงทุน และจะเป็นผู้ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าในระยะยาว 

พร้อมกันนี้ หนึ่งในบริษัทชั้นนำของประเทศไทยที่มุ่งผลักดันเรื่อง Net Zero อย่างจริงจัง คือ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC โดย ดร.ชญาน์ จันทวสุ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานความยั่งยืนองค์กร กล่าวว่า “ด้วยบทบาทของผู้นำธุรกิจเคมีภัณฑ์ระดับสากล GC สานต่อการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ มุ่งสู่ เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593 และเราให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของธุรกิจเดิม เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ในขณะเดียวกันก็ได้ปรับโครงสร้างของธุรกิจ ด้วยการลงทุนในธุรกิจใหม่ ซึ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยกระดับคุณภาพชีวิต ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ เช่น พลาสติกชีวภาพ พลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง และเคมีภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง จากการเข้าซื้อกิจการ allnex ผู้นำระดับโลกในธุรกิจผลิตภัณฑ์สารเคลือบผิว (Coating Resins) และสารเติมแต่งสำหรับงานอุตสาหกรรมที่มีความหลากหลายสำหรับใช้กับวัสดุ ทุกประเภท เป็นต้น

"ทาง GC ทำเรื่องความยั่งยืนมากว่า 10 ปี แต่ระยะ 5 ปีที่ผ่านมาทุกประเทศให้ความสำคัญมากๆ และเมื่อปีที่ผ่านมาบริษัทได้เข้าร่วมประชุม  COP 26   หรือ    Conference of the Parties  :  COP เป็นการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  มีความตื่นตัวเรื่องนี้เป็นอย่างมาก แต่หากหันมาพิจารณาหน่วยงานกำกับของประเทศไทยนั้นเห็นมาหลายปีแล้ว ดังนั้นในอนาคตจะมีความเข้มข้นมากขึ้น หรือใครไม่ทำจะมีต้นทุนทีสูงขึ้น 

ในเรื่องดังกล่าวผู้ที่มีความสำคัญในการผลักดันให้ทำคือคู่ค้าหรือลูกค้า เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปมาก ซึ่ง GC ไปลงทุนในสินค้าไบโอพลาสติก ที่ขาดทุนมาโดยตลอด แต่ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ผลิตไม่ทันจำหน่าย เพราะผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ถึงแม้ว่าต้นทุนสินค้าจะสูงกว่า 20-30% ก็มีความยินดีที่ซื้อมาใช้ เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดโลกร้อน นับเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ธุรกิจต้องปรับตัว และโดยระยะยาวแล้วเรื่องดังกล่าวไม่ได้เป็นการเพิ่มต้นทุน แต่กลับเป็นการลดต้นทุนมากกว่า เพราะลดการใช้วัตถุดิบใหม่ๆ มีผลิตภัณฑ์ที่รีไซเคิลได้ ดังนั้น คาร์บอนที่ปล่อยออกมาก็จะลดลงตามไปด้วย" ดร.ชญาน์ กล่าว

ทั้งนี้ GC คาดว่าจะใช้เงินลงทุนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ 2.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจเข้าสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำเพื่อการบรรลุเป้าหมาย Net Zero ควบคู่ไปกับการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว โดยผลการดำเนินงานที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่า ความสำเร็จของกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนสามารถสร้างผลตอบแทนในเชิงธุรกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยคาดว่าในปี 2050 จะลดก๊าซเรือนกระจกได้ 20%

นายจิรวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า KBank Private BankingผนึกLombard Odier เพื่อปรับการลงทุนอย่างยั่งยืน  ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่เพียงแต่จะสร้างประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสครั้งสำคัญของนักลงทุน โดยสามารถเริ่มต้นด้วยการบริหารจัดการพอร์ตการลงทุนผ่าน ขั้นตอน ดังนี้

  1. ปรับแนวคิดในการลงทุนมุ่งสู่ Net Zero และมองความยั่งยืนในฐานะแหล่งที่มาของผลตอบแทนที่มั่นคงในระยะยาว
  2. พิจารณาพอร์ตการลงทุนว่า มีสัดส่วนการลงทุนหรือกลไกด้านความยั่งยืนที่ชัดเจนหรือไม่ และที่ปรึกษาด้านการลงทุนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องนี้มากน้อยเพียงใด
  3. เสริมพอร์ตให้แข็งแกร่งขึ้นด้วยการลงทุนในกองทุนเปลี่ยนโลกที่สนับสนุนธุรกิจผู้ชนะโดยตรง 

 

 

 

 

การเงิน ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP