WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันอาทิตย์ ที่ 24 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
ชนะพล ผอ.กองทุนประกันวินาศภัย เผย 3 สาเหตุให้จ่ายสินไหมโควิดล่าช้า

26 สิงหาคม 2565 : 2 ปี มหากาพย์ของกรณีการร้องเรียนเพื่อทวงสิทธิ์สินไหมทดแทนของผู้เอาประกันกรณี หรือ เจ้าหนี้ ที่ทำประกันภัยโควิด -19 “เจอ จ่าย จบ” แต่ตอนนี้ ยังไม่จบง่ายๆ ถึงแม้มหันตภัยครั้งนี้จะทำให้บริษัทประกันภัย 4 บริษัท ไปต่อไมไหวจนต้องปิดตัวเองลงไป ได้แก่ บมจ.เดอะวันประกันภัย, เอเชียประกันภัย, อาคเนย์ประกันภัยและไทยประกันภัย ส่งผลให้จำนวนผู้เสียหายถูกผลักภาระเข้าสู่ “กองทุนประกันวินาศภัย” ต้องทำหน้าที่รับไม้ต่อดูแล โดยรวมแล้วมีผู้เอาประกันที่ยื่นเรื่องเรียกร้องสินไหมทดแทนกว่า 670,000 รายที่ยังไม่ได้รับเงินชดเชย ภายใต้หนี้สินกว่า 65,000 ล้านบาท

ต่อเรื่องดังกล่าว นายชนะพล มหาวงษ์ ผู้จัดการกองทุนประกันวินาศภัย เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางกองทุนได้ทยอยจ่ายสินไหมทดแทนให้กับผู้ที่มายื่นคำร้องขอรับชำระหนี้แล้ว แต่ประเด็นปัญหาที่ทำให้กระบวนการจ่ายสินไหมล่าช้า ที่พบเจอหน้างานในทุกวันนี้แบ่งเป็น 3 เรื่อง ได้แก่

1.ยอดเงินไม่ได้มาจากสินไหมเจอจ่ายจบ เพียงอย่างเดียวแต่มาจาก ค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชย ซึ่งมีการนำไปผูกกับ CI, HI (Home i solution) (ค่าชดเชยรายวัน)ที่คปภ.ขอความอนุเคราะห์ให้บริษัทประกันภัยจ่ายร่วมด้วย ซึ่งประชาชนได้มีการใส่จำนวนตัวเลขมาเต็มวงเงิน 14,000 บาท แต่ในความเป็นจริงแต่ละรายมีค่าใช่จ่ายส่วนนี้ไม่เท่ากัน บางราย 8,000 บาท บางราย 10,000 บาท เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเจอจึงต้องตรวจสอบกลับไปยังเจ้าหนี้ จึงทำให้ล่าช้าต่อกระบวนการจ่ายออกไปอีก เช่นสินไหมเจอจ่ายจบ ได้ 1 แสนบาท บวก ค่าชดเชย 14,000 บาท แต่ทุกคนใส่จำนวนเต็มกันมาหมด 140,000 บาท ซึ่งไม่ถูกต้อง ต้องกลับมาพิจารณาใหม่จึงทำให้เกิดความล่าช้ายิ่งขึ้น

2.ทางด้านบุคลากรที่มาช่วยเหลือ ขณะนี้มีจำนวนไม่เพียงพอ เดิมตั้งเป้าว่าจะมีเจ้าหน้าที่ประมาณ 100 คนในการทำงานตรวจสอบ ปัจจุบันมีเพียง 50 คน ส่งผลให้การทำงานล่าช้าออกไป แต่สรุปในเดือนนี้สิงหาคม ก็เร่งพิจารณาจ่ายสินไหมไปแล้วกว่า 2,240 ราย รวมเป็นเงิน 206.9 ล้านบาท จากทั้ง 4 บริษัท ซึ่งจากเดิมคาดว่าจะทำได้กว่า 4,000 ราย แต่ยอดสรุปจากที่มีการจ่ายสินไหมแล้วกว่า 11,400 ราย คิดเป็นเงิน 924.5 ล้านบาท (25 ส.ค.65)

"ขณะนี้เรื่องพนักงานเจ้าหน้าที่ในการทำงานมีปัญหาเนื่องจากได้มีการจ้างเหมา แต่ติดปัญหาด้านความรู้ทางด้านประกันภัย อันที่จริงได้มีการขอความร่วมมือไปยังภาคอุตสาหกรรมประกันภัยที่เป็นมืออาชีพแต่ไม่ได้รับการสนับสนุนกลับมา ขณะที่เจ้าหน้าที่จากคปภ.ส่งมาก็เป็นลูกจ้างที่ได้รับการฝึกสอนมา 5-6 เดือนก็ยังพอรับสถานการณ์ไหว ในขณะที่เจ้าหน้าที่กองทุนประกันวินาศภัยมีน้อยมาก ดังนั้น ช่วง 4 เดือนที่เหลือในปีนี้ต้องหาวิธีการใหม่ เนื่องจากตั้งเป้าว่าจะพิจารณาให้แล้วเสร็จเดือนละไม่น้อยกว่า 4,000 ราย เฉลี่ยพิจารณาบริษัทละ 1,000 ราย ซึ่งต้องหาวิธีปรับกระบวนการต่อไป"

3.การยืนยันสิทธิ์ หลังจากกองทุนประกันวินาศภัยอนุมัติจ่ายสินไหมให้แล้ว จะต้องมีหนังสือเอกสารไปถึงผู้เอาประกันหรือเจ้าหนี้ เช่น ขอมาที่ 114,000 บาท ทางกองทุนฯ พิจารณาแล้วได้ 110,000 บาท ยอมรับหรือไม่เพื่อให้รับรองความถูกต้อง และเลขที่บัญชีธนาคารที่จะให้มีการโอนเข้านั้นถูกต้องหรือไม่ ตรงกับผู้ทีมีสิทธิ์รับเงินโดยตรงหรือไม่อย่างไร จุดนี้ถือว่าเป็นปัญหาพอสมควร จากปัจจุบันที่ใช้เวลา 45 วัน บางรายไม่ส่งเอกสารกลับมา บางรายส่งกลับมาแต่ก็ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ เมื่อเป็นอย่างนี้จะต้องมีการวางระบบให้ชัดเจนมากว่านี้ และคาดว่าปี 2566 คงจะมีกระบวนการที่ช้ดเจน และรวดเร็วกว่านี้กับเจ้าหนี้ที่เหลืออีกกว่า 6.7 แสนราย

"นอกจากนี้ ทางกองทุนประกันวินาศภัย จะเร่งหารือกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เพื่อเพิ่มรายได้ในการเข้ามาช่วยเยียวยา ซึ่งทางบอร์ด สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) มีแนวคิดว่าจะให้จัดเก็บเงินนำส่งกองทุนเพิ่มเป็น 0.5% จากปัจจุบันที่จัดเก็บประมาณ 0.25% ของเบี้ยประกันวินาศภัย ที่บริษัทประกันวินาศภัยทุกแห่งจะต้องส่งเข้าสมทบกองทุน คิดเป็น 650 ล้านบาท คาดว่า 0.5% จะเพิ่มเป็น 1,200-1,300 ล้านบาท โดยจะให้มีผลบังคับวันที่ 1 มกราคม 2566 รวมไปถึงยังมีการจัดตั้งคณะทำงานพิจารณาถึงแนวทางกระบวนการกู้เงินร่วมด้วย นายชนะพล" กล่าวสรุป

ประกันภัย ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP