WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันเสาร์ ที่ 23 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
จัดพอร์ตลงทุนให้ปังสวนเงินเฟ้อ

20 มิถุนายน 2565. : หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)ได้ปรับอัตราดอเบี้ยล่าสุดที่ 0.75% ตามที่กูรูไทยและนอกคาดด้วยความมั่นอกมั่นใจ ขณะที่ก่อนการประชุมเฟดในวันที่ 15 มิ.ย. ตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวนหนัก แม้แต่หลังการประกาศการขึ้นดอกเบี้ยดังกล่าวไปแล้ว ตลาดหุ้นก็ยังไม่หยุดผันผวน  แถมแว่วมาว่า เงินเฟ้อสหรัฐฯยังพีคไม่ถึงขีดสุด งานนี้เฟดมีโอกาสขยับดอกแบบเร่งขึ้นได้อีกรอบ

ขณะที่ดอกเบี้ยนโยบายของไทยก็ไม่น้อยหน้า แม้ผลการประชุมดอกเบี้ยรอบล่าสุดเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ที่ผ่านมา ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมที่ 0.50% แต่การประชุมกนง.รอบนี้ไม่เหมือนกับทุกที เพราะคณะกรรมการกนง.พากันเสียงแตก ด้วยปัจจัยเงินเฟ้อที่เกินกรอบเป้าหมายปีนี้ไปมาก จากเดิมมองปีนี้พีคสุดที่ 4.9% แต่ไปๆมาๆ ปัจจัยลบเดิมๆ ก็ยังรุมเร้าแบบแข็งแกร่ง

ส่งผลให้มุมมองเงินเฟ้อของไทยปีนี้เปลี่ยนไปเป็น 6.2% ฟังแล้วก็ใจหาย แม้แต่ “ม่าม่า” อาหารยามยากยังก็ขอปรับราคาขึ้นซองละ 1 บาท เพราะทนแรงวัตถุดิบพุ่งไม่ไหว แต่รัฐยื้อไว้ก่อน แต่ในอนาคตเห็นแน่ๆ เตรียมใจกันได้เลย

งานนี้ธปท.คงไม่นิ่งเฉย ท่านผู้ว่าธปท."ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย" ถึงกับเอ่ยปากว่า ไม่อยากใช้ยาแรงในการคุมเงินเฟ้อ ดังนั้น จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ย และจะทำช้าไม่ดี โดยการพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย จำเป็นต้องขึ้นกับบริบทของประเทศเป็นสำคัญ คงไม่ใช่การปรับขึ้นดอกเบี้ยไปตามทิศทางของธนาคารกลางประเทศหลักๆ เนื่องจากบริบทของไทยแตกต่างจากประเทศอื่นๆ เงินเฟ้อของไทยที่เพิ่มขึ้นมาจากฝั่งอุปสงค์เป็นหลักไม่ใช่จากฝั่งอุปทาน มองว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ยจะต้องไม่ขึ้นช้าจนเกินไป เพราะถ้าขึ้นช้าเกินไปจะไม่ดีเพื่อไม่ให้ทำแรงเกินไป

ขณะที่นโยบายการเงินหรือนโยบายดอกเบี้ยเทียบเคียงแล้ว เหมือนการเหยียบคันเร่งกับการแตะเบรค ที่ผ่านมาไทยใช้นโยบายการเงินผ่อนปรนค่อนข้างมากและเป็นเวลานาน เมื่อเทียบกับภูมิภาคแล้ว ดอกเบี้ยนโยบายของไทยต่ำสุดในภูมิภาค ขณะที่อัตราเงินเฟ้อสูงติดอันดับในภูมิภาค

พร้อมกับย้ำว่า เรื่องการผ่อนคลายนโยบายการเงินนั้น เหมาะสมกับสิ่งที่เราเจอ ด้วยประเทศไทยเจอผลกระทบจากโควิดค่อนข้างมาก การผ่อนคลายนโยบายไม่ใช่การเหยียบเบรคแต่เป็นการถอนคันเร่ง และการพิจารณาดอกเบี้ยช้าไปก็ไม่ดี เพราะถ้าปล่อยไว้นานไปเครื่องยนต์เงินเฟ้อติด แล้วหันมาถอนคันเร่งอย่างเดียวคงไม่พอ ยิ่งนานยิ่งเหยียบเบรคแรงขึ้น ถ้าขึ้นดอกเบี้ยช้าเกินไปโอกาสที่จะต้องขึ้นมากขึ้นก็จะตามมา ซึ่งไม่อยากเห็น ดังนั้น แนวทางการปรับดอกเบี้ยต้องทำและอย่าช้าเพื่อไม่ต้องทำแรงเกินไป

ส่วนการลงทุน เราจะจัดพอร์ตลงทุนอย่างไรให้ปังสวนปัจจัยลบ ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน "ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด กล่าวว่า ปัญหาเงินเฟ้อยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ และทั่วโลก โดยในขณะนี้ยังไม่เห็นสัญญาณว่าเงินเฟ้อจะผ่านจุดสูงสุดทั่วโลก อย่างเช่นเงินเฟ้อฝั่งสหรัฐฯ ที่เพิ่งประกาศออกมาที่ 8.6% YoY ก็ยังอยู่ในช่วงขาขึ้นจากเดือนก่อนๆ

และปัจจัยที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อในรอบนี้ยังไม่ถูกแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมันดิบ ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ราคาธัญพืช อาหารสัตว์ ปุ๋ยเคมี สินค้าอุตสาหกรรม ฯลฯ จากทั้งสงครามรัสเซีย-ยูเครน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกหลังโควิด-19 ที่ทำให้อุปสงค์ของหลายสินค้าสูงขึ้น รวมถึงการล็อกดาวน์ในจีนที่ยังไม่คลี่คลายเต็มที่

ล่าสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาคณะกรรมการกำกับนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% ตามที่ตลาดคาดการณ์ ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่สูงที่สุดในรอบ 28 ปี โดยประธานเฟดส่งสัญญาณชัดเจนในการต่อสู้วิกฤตเงินเฟ้ออย่างเต็มที่ ซึ่งเชื่อว่าเฟดจะสามารถประคองให้เศรษฐกิจจะชะลอตัวในลักษณะ Soft Landing ได้สำเร็จในวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นรอบนี้ เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ หลายตัวที่ประกาศออกมาแสดงให้เห็นว่าการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดที่ผ่านมายังไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ถึงขั้นหดตัว และ เฟดมีการสื่อสารตลอดว่าได้ติดตามดูตัวเลขทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดเวลาจะปรับขึ้นดอกเบี้ย

ส่วนของประเทศไทยนั้น ตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคม 2565 ที่ระดับ 7.1% ถือเป็นระดับที่สูงเกินกว่าที่คาดไว้ ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คาดว่า เงินเฟ้อจะแตะจุดสูงสุดช่วงไตรมาสที่ 3 แต่จะไม่น่าจะไปถึง 2 หลัก จากนั้นจะทยอยปรับลดลงตามราคาน้ำมัน

ซีอีโอจิตตะ เวลธ์ มองว่า อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นทั่วโลกเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้คือ การลงทุนต่อเนื่อง โดยนักลงทุนสามารถยึดหลักการลงทุนแบบเน้นคุณค่าตามแนวทางของนักลงทุนระดับโลกอย่าง ‘วอร์เรน บัฟเฟตต์’ ด้วยการคัดเลือกสินทรัพย์ที่ดีมีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม เพื่อลงทุนระยะยาว โดยไม่ต้องสนใจว่าภาวะตลาดจะขึ้นหรือลง ซึ่งหลักการนี้จะช่วยให้นักลงทุนสามารถฝ่าความผันผวนไปได้

“หากนักลงทุนต้องการลงทุนระยะยาว การลงทุนเพิ่มเพื่อเฉลี่ยราคาสินทรัพย์ก็เป็นอีกทางเลือก เพื่อขจัดความผันผวนระยะสั้นออกไป อดทนและรอให้ตลาดหุ้นกลับมาเป็นขาขึ้น ซึ่งสร้างผลตอบแทนที่ดีในอนาคตได้แน่นอน” นายตราวุทธิ์ กล่าว

สำหรับ ‘หุ้นดีราคาถูก’ ในจังหวะนี้มีให้เลือกมากมาย หากนักลงทุนพยายามมองหาเช่นการที่อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ กดดันตลาดหุ้นสหรัฐฯ ทั้งราคาหุ้นและดัชนีต่างปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่อง แต่นั่นกลับเป็นข้อดี เพราะหุ้นพื้นฐานดีและ ETF ที่มีโอกาสเติบโตจะมีราคาถูกลงมาก

ขณะเดียวกันในภาวะเงินเฟ้อเช่นนี้นักลงทุนสามารถเลือกจัดพอร์ตลงทุน กระจายความเสี่ยงให้พอร์ต ด้วยการลงทุนในหุ้น Defensive หรือหุ้นเชิงรับที่มีความผันผวนต่ำ ทนทานต่อสภาวะเงินเฟ้อ เพราะอยู่บนพื้นฐานของปัจจัย 4 เช่นเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ก็เป็นที่ต้องการเสมอ อย่างหุ้นสุขภาพหรือเฮลท์แคร์ นอกจากนี้ หากนักลงทุนจะหันกลับมามองตลาดหุ้นเอเชียบ้างก็จะพบว่ามีหลายประเทศที่ค่อนข้างน่าสนใจกว่าฝั่งตะวันตก เช่น ตลาดจีนและตลาดเวียดนาม โดยหลังจากเริ่มนโยบายเปิดเมือง 

การเงิน ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP