17 พฤษภาคม 2565 : อัตราเงินเฟ้อในเดือนพ.ค.แสดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า มีแนวโน้มจะกลับมาเร่งขึ้นตามการปรับขึ้นของราคาสินค้าในหมวดพลังงาน โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงหลังจากมีการยกเลิกตรึงราคาดีเซลไว้ที่ 30 บาทต่อลิตร และให้เริ่มทยอยปรับราคาขึ้นแบบขั้นบันไดตั้งแต่ 32 บาทต่อลิตร จนอาจถึงกรอบเพดานใหม่ที่ 35 บาทต่อลิตร จึงอาจกระทบต่อต้นทุนการขนส่งและการผลิตสินค้า รวมถึงยังมีการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม และการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) รอบเดือนพ.ค.-ส.ค. รวมถึงราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ยังมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบ
ฟังดูแล้ว อาจจะต้องรัดเข้มขัดแน่นขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่ทยานขึ้นแบบไม่มีพักเหนื่อยกันเลยที่เดียว แต่จะให้ทำอย่างไรได้ ในเมื่อสงครามระหวว่างรัฐเซียกับยูเครนยังไร้แนวโน้มคลี่คลาย และที่หนักไปกว่านั้น หลายประเทศในแถบยุโรปจ่อเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรต่อเนื่อง ดังนั้น ‘น้ำมันและก๊าซจากรัสเซีย’ จากนี้จะเป็นไปในทิศทางใด
ล่าสุด “วาเลนตินา โรมีโอ” นักเขียนด้านการลงทุน ได้ส่องความสำคัญของ ‘น้ำมันและก๊าซจากรัสเซีย’ หลังยุโรปจ่อเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรต่อเนื่อง ไว้อย่างน่าสนใจ ว่า ปัจจุบันสถานการณ์สงครามรัสเซียบุกยึดยูเครนได้ก้าวเข้าสู่เดือนที่สอง บรรดาชาติตะวันตกขู่จะเพิ่มมาตราการคว่ำบาตรรัสเซียให้เข้มข้นยิ่งขึ้น ขณะที่ประธานาธิบดีปูตินของรัสเซีย ก็ใช้น้ำมันและก๊าซเป็นอาวุธต่อรองทางการเมือง ส่งผลให้อุปทานของแหล่งพลังงานสำคัญทั้งสองยังมีโอกาสเสี่ยงที่จะเผชิญกับภาวะหยุดชะงักหรือขาดแคลนพลังงานได้
ในการประชุมครั้งสำคัญที่จะถึงนี้ กลุ่มเอกอัครราชทูตยุโรปได้เตรียมหารือถึงการคว่ำบาตรรัสเซียที่ต้องยกระดับความรุนแรงขึ้น ซึ่งอาจครอบคลุมถึงการนำเข้าถ่านหิน ภายหลังจากที่ นายเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ประกาศห้ามการนำเข้าน้ำมันและถ่านหินจากรัสเซีย แต่ไม่ใช่ก๊าซ เพื่อตอบโต้การกระทำอันโหดร้ายทารุณของรัสเซียในเมืองบูชา ประเทศยูเครน
จนถึงตอนนี้ ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันของรัสเซียยังคงถูกลำเลียงส่งไปยังยุโรป โดยนับตั้งแต่รัสเซียเริ่มต้นบุกรุกยูเครน ประเทศในยุโรปหลายประเทศได้ประกาศแผนการเตรียมลดการพึ่งพาสินค้าโภคภัณฑ์ของรัสเซีย อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่ได้ประกาศห้ามการนำเข้าก๊าซจากรัสเซียอย่างชัดเจน เนื่องจากทางยุโรปยังคงขาดตัวเลือกด้านแหล่งพลังงานอื่นๆ อยู่ในระยะสั้น และในขณะที่เขียนบทวิเคราะห์นี้ ลิทัวเนียเป็นเพียงประเทศเดียวในสหภาพยุโรปที่ประกาศไม่ใช้ก๊าซของรัสเซียอย่างเด็ดขาด
ในขณะเดียวกัน เมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา ปูตินกล่าวว่ารัสเซียจะเรียกร้องให้กลุ่มประเทศผู้ซื้อก๊าซในยุโรปจ่ายค่าก๊าซเป็นสกุลเงินรูเบิลของรัสเซีย โดยย้ำว่าการชำระเงินเป็นสกุลเงินยูโรหรือดอลลาร์จะถือว่าเป็นการผิดสัญญาโดยผู้ซื้อ และอาจส่งผลให้สัญญาการซื้อขายถูกระงับ ขณะที่แผนการจัดหาแหล่งพลังงานของยุโรปยังคงดำเนินต่อไป เราลองมาพิจารณาประเด็นสำคัญต่อไปนี้เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นว่า อุปทานแหล่งพลังงานของรัสเซียสำคัญต่อตลาดน้ำมันและก๊าซทั่วโลกอย่างไร และการเปลี่ยนแปลงด้านอุปทานพลังงานนี้ อาจส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง
การผลิตน้ำมันของรัสเซียมีความสำคัญต่ออุปทานทั่วโลกอย่างไร ในปี 2564 น้ำมันของรัสเซียคิดเป็น 12.4% ของปริมาณน้ำมันทั้งหมดทั่วโลก ซึ่งมากกว่าซาอุดิอาระเบียและเทียบเท่ากับสหรัฐอเมริกา โดยรัสเซียผลิตน้ำมันได้ประมาณ 11.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเกือบ 4.3 ล้านบาร์เรลของปริมาณการผลิตดังกล่าวถูกส่งออกไปยังยุโรปและสหรัฐอเมริกา
ทั้งนี้ โลกจะสูญเสียน้ำมันจากรัสเซี ยมากน้อยแค่ไหน “มัลคอล์ม เมลวิลล์” ผู้จัดการกองทุนพลังงานของ Schroders กล่าวว่า “ตัวเลขคาดการณ์ของแต่ ละตลาดอาจแตกต่างกันออกไป แต่คาดว่าโลกจะสูญเสียปริมาณน้ำ มันมากถึง 4.5 ล้านบาร์เรลต่อวันหรือประมาณ 4% ของอุปทานน้ำมันทั้งหมดทั่วโลก ในระหว่างที่รัสเซียยังคงบุกยึ ดยูเครนอยู่ในขณะนี้
“ก่อนที่รัสเซียจะเข้าบุกยึดยู เครน ตลาดคาดการณ์ว่ากำลังการผลิตน้ำ มันของรัสเซียจะเพิ่มขึ้นเพื่ อช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำมั นทั่วโลกอันเนื่ องมาจากสถานการณ์โควิด-19 อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ตลาดคาดว่ารัสเซี ยจะลดกำลังการผลิตลงซึ่งจะทำให้ เกิดภาวะการขาดแคลนน้ำมันอย่ างรุนแรง” นายมัลคอล์ม กล่าว
ทั้งนี้ หากรัสเซียเริ่มลดกำลังการผลิ ตน้ำมันต่อพื้นที่ต่างๆทั่วโลก ผลกระทบอาจรุนแรงและส่งผลอย่ างถาวร เพราะตอนนี้โลกกำลังเผชิญปั ญหาการขาดแคลนน้ำมันประมาณ 2.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งจะเปิดโอกาสให้สหรัฐฯ สามารถเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมั นได้ โดยล่าสุดการผลิตน้ำมันของสหรั ฐฯ เพิ่งถูกขัดขวางจากหลายปัจจัย ได้แก่ มาตรการควบคุมเงินทุนเคลื่อนย้ าย (Capital Controls) ปัญหาการดำเนินธุรกิจที่ต้ องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social, Governance : ESG) และปัญหาด้านกำลังการผลิต
นอกจากนี้ ยังมีความหวังว่ามาตรการคว่ำ บาตรอิหร่านบางส่วนจะถูกยกเลิก และอิหร่านอาจสามารถผลิตน้ำมั นได้เพิ่มอีก 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม เราจะยังคงขาดแคลนน้ำมันเป็ นจำนวนทั้งหมด 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยสถานการณ์การขาดแคลนน้ำมันนี้ ประกอบกับปัญหามูลค่าสินค้ าคงคลังที่ต่ำลงจนทุบสถิติ อาจหนุนให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้ นจนแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติ การณ์ได้
อุปทานก๊าซของรัสเซียมีความสำคั ญอย่างมากที่สุดต่อประเทศในยุ โรป โดยก๊าซของรัสเซียคิดเป็นสัดส่ วนประมาณ 40% ของปริมาณการนำเข้าก๊าซทั้ งหมดของยุโรป ระดับปริมาณก๊าซที่ถูกจัดเก็ บไว้ในยุโรปมีจำนวนคงเหลือน้ อยลงแล้ว ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ปริ มาตรความจุเต็มที่ 25% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยตามฤดู กาลที่ 38% ดังนั้น ถือว่าเหลือให้ใช้น้อยมาก และคณะกรรมาธิการยุโรปยั งประกาศยืนยันแล้วด้วยว่าปริ มาณก๊าซที่จัดเก็บจะต้องเต็ม 80% ภายในฤดูหนาวหน้า
“หากก๊าซกลายเป็นเครื่องมื อทางการเมืองในภาวะสงคราม ก็นับเป็นเรื่องยากที่ จะหาอะไรมาทดแทนการนำเข้าก๊ าซจากรัสเซียได้ ยุโรปกำลังพยายามกระจายอุ ปทานและค้นหาแหล่งผลิตก๊าซอื่ นๆ โดยตั้งความหวังไว้ที่สหรัฐฯ เป็นหลัก อย่างไรก็ตาม มันต้องใช้เวลาและกำลังการผลิ ตก๊าซของสหรัฐฯ ช่วยได้น้อยมากเมื่อเทียบกับปริ มาณก๊าซที่รัสเซียจัดหาให้ โดยปัญหาความกังวลที่เกี่ยวข้ องกับอุปทานก๊าซส่งผลให้ราคาก๊ าซในยุโรปปรับเพิ่มขึ้นเป็น 120 ยูโรต่อเมกะวัตต์ต่อชั่วโมง ซึ่งพุ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ ยระยะยาวถึง 6 เท่า” นายมัลคอล์ม กล่าว
หากในกรณีที่รัสเซียตัดสินใจปิ ดก๊อกไม่ส่งก๊าซและน้ำมัน คณะกรรมาธิการยุโรปอาจหาวิธี การลดอุปสงค์หรือความต้องการพลั งงานทั้ง 2 ชนิดให้น้อยลง ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่ อุตสาหกรรมหลักอาจปิดตัวลง ท่ามกลางสถานการณ์ที่กำลังเกิ ดขึ้นนี้ เยอรมนีและออสเตรียได้เริ่มจั ดทำแผนฉุกเฉินเพื่อแบ่งสรรปันส่ วนการจ่ายก๊าซในกรณีที่เกิ ดการขาดแคลนแบบฉับพลันแล้ว ด้วยเงื่อนไขต่างๆที่มีอยู่ ตอนนี้ี้ หากรัสเซียตัดสินใจหยุดจ่ายก๊าซ ก็มีความเป็นไปได้สูงว่าปริ มาณก๊าซที่ยุโรปจัดเก็บไว้ อาจหมดลงภายในเวลาไม่ถึงหนึ่ งเดือน