WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันอาทิตย์ ที่ 24 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
รับมือ พร้อมสร้างพลังบวกอย่างไร ให้คนที่รักก้าวผ่านโรคร้าย

28 เมษายน 2565 : เชื่อว่าใครหลายคนต้องเคยเจอสถานการณ์อันเลวร้าย โดยเฉพาะการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับคนที่คุณรัก บางคนทำใจได้รวดเร็วสามารถ Move On ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข บางคนจมอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้น จนตกอยู่ในสภาวะเครียดทั้งตัวผู้ป่วยและผู้ดูแล GenHealthyLife แหล่งรวมสาระดี ๆ ด้านสุขภาพและเคล็ดลับการวางแผนสร้างหลักประกันในชีวิต จากเจนเนอราลี่ มีวิธีรับมือ เตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจ ให้บุคคลที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยโรคร้ายแรงได้นำไปปรับใช้ เพื่อสร้างพลังบวกให้กับตัวเองและผู้ป่วยได้มีสุขภาพจิตที่ดียิ่งขึ้น

เริ่มต้นจาก “เตรียมความพร้อม” ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เพราะอาการเจ็บป่วยสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้นสิ่งควรเตรียมเป็นอันดับต้น ๆ ได้แก่ การเก็บเบอร์โทรศัพท์ที่จำเป็น เช่น เบอร์โทรฉุกเฉินรถพยาบาล รายชื่อโรงพยาบาลใกล้บ้าน ข้อมูลยาประจำตัวในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้มีโรคประจำตัวต่าง ๆ อุปกรณ์ช่วยเหลือฉุกเฉิน รวมถึงการมี “แผนประกัน” ทั้งประกันสุขภาพและอุบัติเหตุเพื่อให้พร้อมรับมือกับค่าใช้จ่ายจำนวนมากที่ อาจมีในอนาคต ต่อมาคือ “รับมือกับการวินิจฉัย” เป็นปกติที่คนป่วยมักมีความกังวลเกี่ยวกับอาการป่วยของตนเอง

ดังนั้น ควรช่วยให้เขาเข้าใจข้อมูลการวินิจฉัยของแพทย์และยอมรับอาการป่วยซึ่งเป็นเวลาที่สำคัญมากที่คนใกล้ตัวต้องมีสติให้ได้มากที่สุดและอยู่เคียงข้าง ผู้ป่วยตลอดการเข้าพบแพทย์รวมถึงต้องฟังสิ่งที่แพทย์อธิบายอย่างละเอียดรอบคอบ หากมีข้อสงสัยควรสอบถามแพทย์ทันที เมื่อเข้าสู่กระบวนการรักษา ผู้ใกล้ชิดจำเป็นต้อง “จัดสรรเวลา” เพราะในบางกรณีผู้ป่วยอาจต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานานและบ่อยหรือผู้ป่วยบางรายไม่สามารถเดินทางไปพบแพทย์ด้วยตัวเองได้ รวมถึงผู้ป่วยอาจต้องการคนใกล้ชิดเพื่ออยู่เคียงข้างจึงทำให้เรื่องการจัดสรรเวลาของผู้ใกล้ชิดในการดูแลผู้ป่วยเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

หากพบว่ามีข้อจำกัดด้านเวลา ควรจะต้อง “หาผู้ช่วย” เริ่มจากคนใกล้ชิดในครอบครัว เพื่อช่วยกันแบ่งเบาหน้าที่และความเหนื่อยล้าจากการดูแลผู้ป่วยในกรณีที่ผู้ป่วยต้องการความเชี่ยวชาญในการดูแล อาจจำเป็น ต้องใช้ทีมดูแลผู้ป่วยมืออาชีพมาช่วยเหลือเพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากการรักษาด้านร่างกายแล้ว อีกเรื่องที่สำคัญมากคือการดูแลจิตใจของผู้ป่วย จากงานวิจัยหลายชิ้นพบว่า “กำลังใจ” จากผู้ใกล้ชิดและคนรอบข้างจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายใจ สามารถฟื้นตัวได้เร็ว และผู้ใกล้ชิดควรมีทัศนคติเชิงบวกเพื่อใช้แก้ไข้ปัญหาต่าง ๆ รวมถึงสร้างกำลังใจให้ผู้ป่วยมีความสุขได้ เรื่องต่อมาคือให้ผู้ป่วยได้ “ทำในสิ่งที่เขารัก” ถือเป็นวิธีการมอบความสุขและความอบอุ่นให้กับผู้ป่วยด้วยวิธีง่าย ๆ เช่นการดูหนังเรื่องโปรดของเขา สั่งอาหารจากร้านอาหารที่เขาชอบ หรือชวนเพื่อนสนิทมาร่วมพูดคุยด้วยกัน เป็นต้น 

ประกันชีวิต ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP