4 มีนาคม 2565 : นางสุภาพร ลีนะบรรจง กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด (บลจ.กรุงศรี) เปิดเผยว่า “บริษัทเปิดเสนอขายกองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลไพรเวทอิควิตี้ – ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (KFGPE-UI) สำหรับนักลงทุนรายใหญ่ที่มองหาการลงทุนทางเลือกเพื่อศักยภาพการเติบโตจากการเข้าถึงการลงทุนใน Private Equity ชั้นนำที่มีการกระจายการลงทุนหลากหลายธุรกิจและหลากหลายภูมิภาคทั่วโลก เพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีจากการร่วมลงทุนและเติบโตไปพร้อมกับธุรกิจเหล่านี้
ซึ่งเป็นบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่มีศักยภาพเติบโตที่ดี ต้องการระดมทุนเพื่อเตรียมขยายกิจการหรือรองรับสินค้าและบริการที่กำลังเติบโตซึ่งในอนาคตบริษัทเหล่านี้มีโอกาสจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือขายให้ผู้ถือหุ้นอื่นๆ จึงถือเป็นสินทรัพย์ที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวนอกจากนี้ Private Equity ยังมีความสัมพันธ์กับสินทรัพย์อื่นในระดับต่ำ จึงช่วยกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนอีกด้วย
“กองทุน KFGPE-UI ลงทุนผ่านกองทุนหลัก Schroder GAIA II Global Private Equity Fund ซึ่งบริหารโดย Schroders ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์การลงทุนใน Private Equity มายาวนานกว่า 25 ปี กองทุนหลักจะมีการลงทุนโดยตรงในบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และครอบคลุมไปถึงการลงทุนผ่านกองทุน Private Equity ทั้งในตลาดแรกและตลาดรอง โดยเน้นลงทุนใน 5 กลุ่มธุรกิจ คือ Healthcare เทคโนโลยี กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคยุคดิจิตอลการให้บริการภาคธุรกิจ และกลุ่มอุตสาหกรรม”
กองทุนหลักใช้กลยุทธ์การลงทุนที่หลากหลายและเน้นใช้กลยุทธ์ Small-Mid Buyout เพื่อสร้างโอกาสเติบโตไปกับธุรกิจที่มีกระแสเงินสดมั่นคง มีสินค้าและบริการซึ่งเป็นที่ยอมรับ ซึ่งกลยุทธ์ Buyout ส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนในบริษัทที่อยู่ในสหรัฐและยุโรป และใช้ควบคู่ไปกับกลยุทธ์ Venture capital ที่เข้าไปลงทุนในบริษัทที่เพิ่งเริ่มก่อตั้งกิจการเพื่อโอกาสในการสร้างการเติบโต และใช้กลยุทธ์ Growth capital ที่เข้าไปลงทุนในบริษัทที่อยู่ในช่วงเติบโตและมีความต้องการเงินลงทุนเพื่อขยายกิจการ
ส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนในบริษัทที่อยู่ในเอเชีย โดยเป็นการลงทุนในธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตจากโครงสร้างประชากรรวมถึงธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากการบริโภคภายในประเทศ นอกจากนี้กองทุนหลักยังมีการผสมผสานปัจจัยด้าน ESG เข้ามาในกระบวนการลงทุนอีกด้วย
อีกหนึ่งจุดเด่นของกองทุน KFGPE-UI คือการปลดล็อคข้อจำกัดด้านสภาพคล่องโดยไม่มีกำหนดด้านระยะเวลาถือครอง ซึ่งต่างจาก Private Equity แบบดั้งเดิม และหลังจากช่วง IPO แล้ว จะเปิดให้สามารถซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มได้เป็นรายเดือนและขายคืนได้เป็นรายไตรมาส โดยกองทุนหลักมีเป้าหมายถือครองเงินสดประมาณ 10-20% เพื่อรองรับสภาพคล่องการซื้อขายและสภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลง
“ตัวอย่างธุรกิจที่กองทุนหลักลงทุน เช่น POP MART ซึ่งเป็นบริษัทผลิต Art Toy อันดับ 1 ในจีนที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และ ]init[ เป็นบริษัทชั้นนำในเยอรมันที่ให้บริการเกี่ยวกับ Digital transformation โดยเน้นให้บริการกับภาครัฐเป็นหลัก ซึ่งธุรกิจของบริษัทแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ Digital communication, IT Services และ Hosting และ Archimed เป็นนักลงทุนด้าน Healthcare ในยุโรปที่เน้นลงทุนในธุรกิจด้านบริการทางการแพทย์การตรวจวินิจฉัยโรค อุปกรณ์เครื่องมือการแพทย์ และสุขภาพของผู้บริโภคเป็นต้น”
(ที่มา : Schroders Capital ปี 2565)
“กองทุน KFGPE-UI ถือเป็นทางเลือกที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนรายใหญ่พิเศษที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ของ กลต.ได้ร่วมลงทุนใน Private Equity ไปพร้อมกับนักลงทุนสถาบัน เงินลงทุนเริ่มต้นที่ 1 ล้านบาท” นางสุภาพร กล่าว