WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันอาทิตย์ ที่ 24 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
ธปท. ย้ำ..การปรับโครงสร้างหนี้ช่วยลดภาระหนี้ให้กับลูกหนี้ได้ดีที่สุด

21 กรกฎาคม 2564 : นางสาวธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. เปิดเผยใน Media Briefing เรื่อง แบงก์ชาติกับภารกิจแก้หนี้ประชาชน ว่า ความคืบหน้าการช่วยเหลือลูกหนี้ ณ เดือนพ.ค.2564 รวมทั้งสิ้น 4.9 ล้านรายต่อบัญชี คิดเป็นเงิน 3.2 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นสินเชื่อรายใหญ่จำนวน 2,060 ราย คิดเป็นเงิน 0.6 ล้านล้านบาท สินเชื่อ SMEs จำนวน 0.5 ล้านราย คิดเป็นเงิน 1.6 ล้านล้านบาท สินเชื่อรายย่อยจำนวน 4.4 ล้านบัญชี คิดเป็นเงิน 1.6 ล้านล้านบาท

ส่วนลำดับการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย แบ่งเป็น สินเชื่อบัตรเครดิจและสินเชื่อส่วนบุคคล (Credit Card & P-Loan) จำนวน 3.4 ล้านบัญชี คิดเป็นเงิน 0.8 ล้านล้านบาท สินเชื่อที่อยู่อาศัย (Home Loan) 0.5 ล้านบัญชี คิดเป็นเงิน 0.6 ล้านล้านบาท และสินเชื่อเช่าซื้อ (Hire Purchase) 0.4 ล้านบัญชี คิดเป็นเงิน 0.2 ล้านล้านบาท ส่วนมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ ณ 30 มิ.ย. 2564 สินเชื่อเช่าซื้อลงทะเบียนสะสมจำนวน 17,642 บัญชี อัตราผลสำเร็จ (Success rate) 77.65%

ทั้งนี้ ธปท.ประเมินว่าการปรับโครงสร้างหนี้อย่างจริงจัง ยังคงเป็นแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับการแก้หนี้ให้กับลูกหนี้ในระยะยาว ขณะที่การพักชำระหนี้ยังไม่ใช่แนวทางที่ดีที่สุด เป็นเพียงมาตรการเร่งด่วนที่ช่วยเหลือลูกหนี้ระยะสั้นเท่านั้น เพราะหลังจากการหมดระยะเวลาการพักชำระหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็ต้องกลับมาชำระหนี้ตามเดิม เชื่อว่าไวรัสโควิด-19 ยังคงอยู่กับเราไปอีกนาน การปรับโครงสร้างหนี้จึงเป็นแนวทางลดภาะหนี้ที่เหมาะสมที่สุด

โดยเฉพาะลูกหนี้กลุ่มรายย่อย หากลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้เป็นสินเชื่อระยะยาวก็จะช่วยลดภาระในการชำระหนี้ของลูกหนี้ได้ดี รวมถึงอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อระยะยาวถูกกว่า เช่น ออัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อบัตรเครดิต อย่างไรก็ตาม มาตรการการพักชำระหนี้ 2เดือนเป็นมาตรการช่วยเหลือแบบเร่งด่วนเท่านั้น ธปท.ยังมีเครื่องมืออื่นเพิ่มเติมพร้อมใช้ให้ตรงกับสถานการณ์เป็นหลัก

ส่วนเรื่องของการปรับเพดานอัตราดอกเบี้ยกลุ่มสินเชื่อรายย่อย ธปท.อยู่ระหว่างการพิจารณาจะต้องพิจารณาอย่างรอบครอบ กำหนดราคาที่เหมาะสมกับสถาบันการเงิน ขณะที่การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนก็ไม่เป็นการผลักดันให้เข้าสู่หนี้นอกระบบเพิ่มขึ้นจากการลดความเสี่ยงของสถาบันการเงิน เพราะจะกลายเป็นการสร้างผลกระทบให้กับประชาชนมากขึ้น ที่ผ่านมาธปท.ได้มีการปรับอัตราดอกเบี้ยกลุ่มสินเชื่อรายย่อยไปบ้างแล้ว โดยลดเพดานดอกเบี้ยของบัตรเครดิตเป็น 16% สินเชื่อส่วนบุคคลเป็น 25% และสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ เป็น 24% โดยลดจากเดิม 2-4% ใช้จนกว่าจะมีการปรับเพดานใหม่

การเงิน ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP