8 มิถุนายน 2564 : สถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัล (DISDA) ภายใต้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน ร่วมกับ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดตัวหลักสูตร “การสร้างและพัฒนา Application” แพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะดิจิทัลให้แก่บุคลากรด้านไอทีกว่า 200 คน
โครงการฝึกอบรมหลักสูตร “การสร้างและพัฒนา Application” นี้เป็นไปตามบันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยการพัฒนาฝีมือแรงงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ระยะเวลาสามปี ระหว่างกรมพัฒนาฝีมือแรงงานและหัวเว่ย ซึ่งลงนามไปเมื่อเดือนตุลาคม 2563 เพื่อสร้างและจัดหาโอกาสการเรียนรู้ทางด้านดิจิทัล โดยหัวเว่ยพร้อมที่จะนำเทคโนโลยีชั้นนำมาเสริมแกร่งแรงงานด้านดิจิทัลของประเทศ ตั้งเป้าบ่มเพาะแรงงานทักษะดิจิทัล 3,000 คน และจัดอบรมคอร์สด้านไอซีทีให้แก่เจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจำนวน 120 คน
ทั้งนี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานและหัวเว่ย ได้ร่วมกันจัดหลักสูตรอบรม “การพัฒนาทักษะเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับธุรกิจ” โดยมีผู้ประกอบการที่ผ่านการอบรมด้านเทคโนโลยีไอซีทีกว่า 100 คน โดยทั้งสองฝ่ายยังได้ทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างทักษะดิจิทัลผ่านหลักสูตรใหม่ ๆ อาทิเช่น หลักสูตรการสร้างและพัฒนา Application
หลักสูตรเร่งรัดระยะเวลา 48 ชั่วโมง จัดขึ้นทุกวันเสาร์และอาทิตย์ ระหว่างวันที่ 5 – 27 มิถุนายน นี้ จะถ่ายทอดความรู้ในการสร้าง พัฒนา และปรับแต่งแอปพลิเคชัน บนระบบปฏิบัติการทั้ง Android และ Huawei App Gallery โดยแต่ละครั้งจะใช้ระยะเวลา 6 ชั่วโมง และจะครอบคลุมเนื้อหาทักษะและโซลูชันใหม่ ๆ ที่จำเป็น เพื่อให้ก้าวทันการใช้งานโมบายดีไวซ์ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น การถ่ายทอดองค์ความรู้และความชื่นชอบจะช่วยสร้างรากฐานอันแข็งแกร่งให้กับบุคลากรด้านดิจิทัล เพื่อให้แน่ใจว่าประเทศไทยสามารถตอบโจทย์ความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต
โปรแกรมนี้เปิดรับนักศึกษาด้านไอทีและนักพัฒนาที่มีความสนใจในการสร้างแอปพลิเคชันและความมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งของอีโคซิสเต็มด้านดิจิทัลของประเทศ คอร์สอบรมออนไลน์นี้ ซึ่งปรับรูปแบบการเรียนให้เหมาะกับช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะช่วยให้แน่ใจว่า เรามีบุคลากรไอทีที่มีทักษะที่กำลังเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง และช่วยให้ประเทศไทยก้าวสู่เป้าหมายของการเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หลักสูตรนี้จะมีทั้งการสอนเชิงทฤษฎี การเขียนแอปขั้นสูง การสาธิต และแนวทางปฏิบัติที่ดีในอุตสาหกรรม ตลอดจนคำแนะนำในการทำงานจากผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษา และเทรนเนอร์ในอุตสาหกรรมทั้งในระดับประเทศและระดับโลก
หลังจากจบหลักสูตรการพัฒนาแอปพลิเคชันระยะเวลา 4 สัปดาห์ตามเป้าหมาย ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรอย่างเป็นทางการจากสถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัล นอกจากนี้ ผู้ที่ผ่านการทดสอบทักษะที่จำเป็นของหัวเว่ย จะได้รับประกาศนียบัตรของหัวเว่ย ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากบริษัทต่างชาติหลายแห่ง รวมถึงโอกาสที่จะได้ร่วมการแข่งขัน Apps Up Contest 2021 ระดับโลกของหัวเว่ย เพื่อชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ในระหว่างการกล่าวเปิดงาน ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน ได้อธิบายถึงแนวคิด “สร้าง-ยก-ให้” ของรัฐบาล เพื่อพัฒนาแรงงานด้านดิจิทัลภายใต้กระทรวงแรงงาน “เราต้องการสร้างแรงงานให้มีทักษะมากขึ้น เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรม S-Curve ยกระดับความสามารถในการแข่งขัน และมอบโอกาสในการประกอบอาชีพ” ดร. นฤมล กล่าว
“ดิฉันมั่นใจว่า คอร์สการฝึกอบรมออนไลน์นี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการช่วยสร้างและพัฒนาทักษะ ที่ผู้เข้าร่วมการอบรมทุกคนสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ และมีรายได้มากขึ้นในยุคนิวนอร์มอลที่หลาย ๆ ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ต้องปรับตัว นี่เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการเตรียมแรงงานด้านไอทีของเราในการสนับสนุนการก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างยั่งยืน”
นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร ของหัวเว่ย ประเทศไทย กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทำงานร่วมกับสถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัลและกระทรวงแรงงาน และต้องขอขอบคุณพันธมิตรต่าง ๆ ของเราเป็นอย่างยิ่งสำหรับความร่วมมือที่มีมายาวนาน” ภายใต้พันธกิจ “Grow in Thailand, Contribute to Thailand” หัวเว่ยมุ่งหวังที่จะสร้างบุคลากรใหม่ ๆ สำหรับอีโคซิสเต็มด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง ผ่านการทำงานร่วมกับภาครัฐและผู้ประกอบการด้านไอซีที ซึ่งจะช่วยสร้างรากฐานที่ยั่งยืนแข็งแกร่งให้กับตลาดแรงงานทักษะสูง อันจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศให้เป็นไปตามนโยบายประเทศไทย 4.0”
ในฐานะผู้ให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานและสมาร์ทดีไวซ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างมั่นคงในประเทศไทยมายาวนานกว่า 22 ปี หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนอนาคตดิจิทัลให้แก่ประเทศไทย ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 พร้อมมุ่งสู่การเป็นดิจิทัลฮับของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
บริษัทตั้งใจสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคมให้แก่ประเทศไทย ร่วมบ่มเพาะการพัฒนาแรงงานทักษะดิจิทัล ผ่านโครงการ หัวเว่ย อาเซียน อะแคเดมี (ประเทศไทย) ตั้งเป้าหมายพัฒนาแรงงานด้านไอทีซี 50,000 คนภายใน 5 ปี โดยเมื่อเดือนกันยายน 2563 หัวเว่ยได้เข้าร่วมมหกรรมการจัดหางาน Job Expo Thailand และรับสมัครงานราว 1,000 ตำแหน่งผ่านขั้นตอนการรับสมัครที่สะดวกรวดเร็ว มุ่งหวังช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ