20 พฤศจิกายน 2563 : ทิพยประกันภัย นำคณะครู-อาจารย์ ร่วมโครงการ “ทิพย สืบสาน รักษา ต่อยอด ศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 10” ตามรอยเสด็จฯ ทางรถไฟครั้งแรกของในหลวงรัชกาลที่ 9 เยือนสวนสมเด็จย่า พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต จังหวัดเพชรบุรี
นางวิชชุดา ไตรธรรม ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) และมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด และประธานมูลนิธิธรรมดี กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และมูลนิธิธรรมดี นำคณะครูอาจารย์จากสถาบันการศึกษาต่างๆ กว่า 40 คน ผู้นำชุมชนกว่า 35 คน ร่วมกิจกรรมโครงการตามรอยพระราชา “ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 10”
ตามรอยเสด็จพระราชดำเนินทางรถไฟครั้งแรกของในหลวงรัชกาลที่ 9 เยือนสวนสมเด็จย่า พื้นที่เงาฝน พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต จังหวัดเพชรบุรี เพื่อเรียนรู้และถอดรหัสพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมทั้งถอดบทเรียนสร้างนวัตกรรมด้านการเรียนการสอนให้กับเยาวชน โดยมี นางวันเพ็ญ มังศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม
กิจกรรมตามรอยพระราชา “ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 10” นำคณะครูอาจารย์ขึ้นรถไฟจากสถานีหัวลำโพง กรุงเทพฯ มุ่งหน้าสู่สถานีหัวหิน จังหวัดเพชรบุรี ตามรอยการเสด็จพระราชดำเนินทางรถไฟครั้งแรกของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
โดยระหว่างทางได้แวะที่สถานีนครปฐมเพื่อสักการะองค์พระปฐมเจดีย์ แล้วขึ้นรถไฟเดินทางต่อพร้อมชื่นชมธรรมชาติตลอดเส้นทางจนถึงสถานีหัวหิน จังหวัดเพชรบุรี ที่มีสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ คือ พลับพลาพระมงกุฏเกล้า ซึ่งสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
จากนั้นได้นำคณะผู้ร่วมกิจกรรมเดินทางต่อไปยังโครงการสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สวนสมเด็จย่า) อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งพื้นที่นี้เดิมเป็นพื้นที่เสื่อมโทรมจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยว พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงมีพระราชดำริให้พัฒนาพื้นที่เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาด้านการเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
ฟื้นฟูให้คืนความอุดมสมบูรณ์ด้วยการทำเกษตรแบบผสมผสานและสร้างแหล่งน้ำ เป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิตและเป็นแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านการเกษตร การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และพันธุกรรมพืช รวมถึงเป็นที่ฝึกอบรมการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรและสมุนไพร
โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ฟังการบรรยายจากผู้จัดการโครงการสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี แล้วทำกิจกรรมเก็บดอกบัวหลวงสัตตบุศย์ในนาบัว พับกลีบดอกบัวถวายเป็นเครื่องสักการะ
สมเด็จย่า แล้วนั่งรถรางชมโครงการและปลูกป่า ปิดท้ายด้วยการปลูกข้าวแบบโบราณที่ต้องถอนกล้าและดำนากิจกรรมสำคัญในการตามรอยพระราชาทุกครั้งคือ การถอดรหัสพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร และผู้ร่วมกิจกรรมตามรอยพระราชาทุกคนจะได้รับชุดหนังสือภาษาอังกฤษ ‘King Bhumibol Adulyadej of Thailand’ จำนวน 3 เล่ม ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระราชประวัติและพระราชจริยวัตร ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นำไปถ่ายทอดแก่นักเรียนผ่านหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้เยาวชนรุ่นหลังได้รู้จักพระองค์ท่านและสามารถสื่อสารให้ชาวต่างชาติฟังได้ว่า ทำไมคนไทยจึงรักและผูกพันกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งยังให้ข้อคิดในการใช้ชีวิตเพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เต็มเปี่ยมด้วยคุณธรรม”
หลังจากการลงพื้นที่เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติแล้ว คณะครูอาจารย์ได้ทำกิจกรรมถอดบทเรียน นำโดยอาจารย์อดุลย์ ดาราธรรม วิทยากรจิตอาสา และคณะจิตอาสาจาก TRAFS ผ่านเกมกระดานสื่อการเรียนรู้ 3 แบบ ได้แก่ “Game of Our Nation” ที่สอดแทรกคุณธรรม 4 ประการ คือ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา “9 ตามรอยนวัตกรรมของพ่อศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนระดับสากล” ถอดบทเรียนและต่อยอดสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมจากกิจกรรมตามรอยพระราชา และ “The King's Journey: Learn English an Example of an Invention” ซึ่งคณะครูอาจารย์สามารถนำนวัตกรรมการเรียนรู้ไปต่อยอดการเรียนการสอนสำหรับเยาวชนต่อไป